Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/451
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มงคลสินธุ์, วณิดา | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-11T08:48:26Z | - |
dc.date.available | 2018-12-11T08:48:26Z | - |
dc.date.issued | 2018-06-22 | - |
dc.identifier.uri | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/451 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัยที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ยกร่างตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมในการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และประเมินความถูกต้องของตัวบ่งชี้โดยการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยการประชุมข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้ใช้บริการมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัยที่เหมาะสมกับการประเมิน ติดตาม กำกับ การบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้ใช้บริการ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านนโยบาย 4) ด้านการเงิน 5) ด้านกระบวนการภายใน 2. ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 101.20, df = 44, p = 0.00, RMSEA = 0.055, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, Largest Standardized Residual = 0.029) และผลการตรวจสอบตัวบ่งชี้โดยบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในด้านความเหมาะสมของตัวบ่งชี้และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชที่มุ่งเน้น การพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสังคมเมือง ควรจัดทำแผนแม่บทการวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างคุณภาพการบริหารงานวิจัยให้เป็นเอกภาพเดียวกัน กำหนดแนวทาง การวิจัยเป็นแบบบูรณาการที่เน้นชุดโครงการและเครือข่ายวิจัยมากกว่าการบริหารการวิจัย รายโครงการ โดยโจทย์การวิจัยควรมีที่มาจากผู้ใช้ประโยชน์เป็นผู้กำหนดเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การจัดองค์กรเป็นรูปแบบองค์กรยืดหยุ่น/นวัตกรรมกับรูปแบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงสถาบันการศึกษากับผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และผู้สนับสนุนทุนการวิจัย สร้างเจตคติที่ดีต่อการวิจัย ปลูกฝังการบริหารการวิจัยเชิงคุณภาพ พัฒนาศักยภาพผู้ช่วยนักวิจัย และการประเมินผลการบริหารงานวิจัยครอบคลุมตามแผนแม่บท ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชบูรณาการการบริหารงานวิจัยตามแผนแม่บทที่ครอบคลุมตัวบ่งชี้ด้านผู้ใช้บริการ ด้านบุคลากร ด้านนโยบาย ด้านการเงิน และด้านกระบวนการภายใน บริหารจัดการงานวิจัยให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชน รวมทั้งประเมินผลการบริหารจัดการงานวิจัยตามแผนแม่บทเพื่อการสร้างคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่อไป | en_US |
dc.subject | ตัวบ่งชี้ การบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช | en_US |
dc.title | การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช | en_US |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.