Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/36
Title: แนวทางการส่งเสริมความผูกพันในองค์กรของพนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Authors: นราทอง, ณัชกมล
Keywords: ความผูกพันในองค์กร อุตสาหกรรมสิ่งทอ ดัชนีความสุข
Issue Date: 7-Oct-2016
Abstract: ณัชกมล นราทอง. (2559). แนวทางการส่งเสริมความผูกพันในองค์กรของพนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย คำสำคัญ: ความผูกพันในองค์กร อุตสาหกรรมสิ่งทอ ดัชนีความสุข บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีความสุข 8 ประการและความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาดัชนีความสุข 8 ประการ ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมความผูกพัน ในองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 278 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย และผู้ให้สัมภาษณ์ 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การถดถอยพหุคูณโดยวิธีการแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีดัชนีความสุข 8 ประการอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย สุขภาพดี น้ำใจงาม ปลอดหนี้ ผ่อนคลาย หาความรู้ ทางสงบ ครอบครัวดีและสังคมดี และมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ความผูกพัน ด้านจิตใจ ด้านคงอยู่กับองค์กร และด้านบรรทัดฐาน 2. พนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีอายุงาน และรายได้ต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กร ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีเพศ และตำแหน่งงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน 3. ดัชนีความสุข 8 ประการ ประกอบด้วย ด้านสังคมดี ด้านหาความรู้ ด้านปลอดหนี้ และ ด้านน้ำใจงาม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันของพนักงานได้ร้อยละ 43 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. แนวทางการส่งเสริมความผูกพันในองค์กรของพนักงาน ประกอบด้วย 1) การลดความขัดแย้ง 2) การสร้างแรงงานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรร่วมกัน 3) การให้ความสำคัญในด้านสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 4) การให้ความรู้ในการทำงานโดยการจัดอบรมทุกเดือน 5) การรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน 6) การย้ำให้พนักงานได้มีการพักผ่อนอย่างเหมาะสม 7) สนับสนุนการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ และ 8) การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/36
Appears in Collections:Faculty of Management Science



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.