Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/998
Title: The Regression Methods for Tourism Behavior in Chiangmai of Thai and Foreign Tourism
ปัจจัยการพยากรณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยว ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
Authors: Sangswang, Thanaton
Cheyjunya, Patchanee
ธนธรณ์ แสงสว่าง
พัชนี เชยจรรยา
Keywords: Information seeking
Satisfaction obtained from information seeking
Touristic behavior
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: กชกร เปาสุวรรณ และคณะ. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). สรุปประโยชน์ที่ได้จากสื่อใหม่ (New Media): คุณลักษณะของสื่อใหม่. จากการศึกษา งานวิจัยและบทความ 2551, 50-51.
จรัสนันท์ สิทธิเจริญ. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในภาคเหนือของนักท่องเที่ยวชาวไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนิตว์ปิยา แสงเย็นพันธุ์. (2554). ผลของข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ. (2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
Kotler & Philip. (2000). Marketing Management. (8th ed.). Englewood Clliffs. NJ: Prentice-Hall.
Kotler. P. R. (2014). Marketing for hospitality and tourism. United States of America: Pearson.
Gursoy, D. & McCleary, K. W. (2003). An integrative model of tourists’ information search behavior. Annals of Tourism Research, 31, p. 78-83.
Peter Terzian. (2019). The Top 15 Cities in the World. Retrieved Jan 25,2020 from https://www.travelandleisure.com/worlds-best/cities
Swarbrook, J. H., S. H.,. (1999). Consumer Behavior in Tourism. Oxford: Butterworth Heinemann. 2022
Abstract: The objectives of this study are: 1) to study the information seeking process, the satisfaction gained from the information seeking, and the touristic behaviors of both Thai and foreigner tourists in Chiang Mai 2) to study the correlation between the information seeking process and the satisfaction gained from the information seeking against the touristic behavior in Chiang Mai 3 ) to study the variables’ efficiency in forecasting the touristic behaviors of both Thai and foreign tourists in Chiang Mai. The population consisted of Thai and foreign tourists who travel to Chiang Mai. The researcher selected the sample through the non-probability sampling technique by distributing the questionnaire among 400 subjects who travel to various tourist attractions in Chiang Mai. The research tool is the 83- items questionnaire created by the researcher, and the information obtained will be statistically processed and analyzed via SPSS program. The statistics involved including 1) Descriptive analysis 2) Inferential statistics analysis and 3) Multiple regression analysis. The study shows that: 1) Thai and Foreign tourists sought information and gained satisfaction from new media more than traditional media. When it comes to touristic behavior, Thai and Foreign tourists perceived the behaviors based on tourist attractions as the most important. 2) Information seeking process correlates to the touristic behavior based on tourism purposes on a significance level of 0.001, and satisfaction gained from the information seeking process correlates to touristic behavior based on tourism purposes in Chiang Mai on a statistically significant level of 0.01. 3) The variable that describes the leisure traveling purpose described at a statistically significant level of 0.001 is the overall satisfaction of the obtained information that can describe the Thai and foreign tourists' leisure traveling purposes at 7.9 percent. While the information seeking from the traditional media and overall satisfaction, when combined, can describe the educational traveling purpose at a statistically significant level of 0.001 and can describe altogether at 5 percent, as well as the overall satisfaction that can describe the traveling behavior of Thai and Foreigner tourists to Chiang Mai according to the frequency per year at a statistically significant level of 0.05
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสาร และ พฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การแสวงหาข่าวสารและความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสารกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาตัว แปรที่มีประสิทธิภาพในการทำนายพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 83 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ดังนี้ 1) การวิเคราะห์เชิง พรรณนา โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) 2) การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน 3) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศมีการแสวงหาข่าวสารและความพึงพอใจในการ แสวงหาข่าวสารจากสื่อใหม่มากกว่าสื่อเดิม และส่วนของพฤติกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ ความสำคัญกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุด 2) การแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และความพึงพอใจในการแสวงหาข่าวสารมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ตามวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3) ตัวแปรที่อธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบความบันเทิง ได้อธิบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 คือ ความพึงพอใจ ในข่าวสารโดยรวมที่ได้รับสามารถอธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบความบันเทิงในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาว ไทยและชาวต่างประเทศ ได้ร้อยละ 7.9 ในส่วนของการแสวงหาข่าวสารจากสื่อดั้งเดิมและความพึงพอใจโดยรวมร่วมกัน อธิบายวัตถุประสงค์การท่องเที่ยวแบบหาสาระความรู้ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถร่วมกันอธิบายได้ร้อย ละ 10.2 โดยการแสวงหาข่าวสารจากสื่อดั้งเดิมอธิบายได้ร้อยละ 5.2 และความพึงพอใจโดยรวมอธิบายได้ร้อยละ 5.0 รวมถึง ความพึงพอใจในข่าวสารโดยรวมที่ได้รับสามารถอธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยวตามความบ่อยครั้งในการท่องเที่ยวจังหวัด เชียงใหม่ต่อปีของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/998
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.