Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/773
Title: | พัสตราภรณ์ ศิราภรณ์ และถนิมพิมพาภรณ์ เสน่ห์ความงาม ในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี Passaraphorn, Siraporn, and Thanimpimpaporn: The Charming in Dvaravati Sculpture |
Authors: | จินดาวัฒนภูมิ, สุพิชฌาย์ |
Keywords: | ประติมากรรมสมัยทวารวดี ถนิมพิมพาภรณ์ ศิราภรณ์ พัสตราภรณ์ เสน่ห์ |
Issue Date: | 12-Jul-2562 |
Abstract: | ทวารวดี เป็นช่วงรอยต่อของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์บนแผ่นดินไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะและวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ผสมผสานกับความงามแบบท้องถิ่น ก่อกำเนิดรูปแบบความงามที่มี เสน่ห์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยุคสมัยทวารวดี ที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมอินเดีย ผสมผสานกับเสน่ห์ของยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินไทย เสน่ห์ความงามที่กล่าวมานี้ ปรากฏในรูปแบบของพัสตราภรณ์ คือ เครื่องนุ่งห่ม ศิราภรณ์ คือ เครื่องสวมศีรษะ และถนิมพิมพาภรณ์ คือ เครื่องประดับ ที่สวมใส่ร่างกายให้งดงาม และการตกแต่งทรงผมให้งามสอดคล้องกับการแต่งกาย เพื่อให้สมฐานะ สมเพศ และสมวัย บ่งบอกถึงลักษณะของผู้สวมใส่ว่าเป็นคนชนชั้น ฐานะ และเชื้อชาติใด ทั้งยังสามารถสร้าง เสน่ห์ ตามสมัยนิยมของยุคสมัยนั้น เพราะลักษณะหรือแบบแผนของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของแต่ละยุคสมัย ย่อมมีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ยุคสมัยทวารวดีก็เช่นเดียวกันย่อมออกแบบความงามที่สร้างเสน่ห์ทั้งทรงผม และการสวมใส่พัตราภรณ์ ศิราภรณ์ และถนิมพิมพาภรณ์ในรูปแบบที่งดงามตามแบบของตน ซึ่งเสน่ห์ความงามที่กล่าวมานี้ สามารถศึกษาได้จากงานประติมากรรม ปูนปั้นสมัยทวารวดี ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งศาสนสถานสมัยทวารวดี ที่พบเป็นจำนวนมากที่เมืองโบราณนครปฐม เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/773 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ประชุมวิชาการครั้งที่ 11_85.pdf | 516.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.