Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/624
Title: นวัตกรรมดนตรีจีนของชุมชนบางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Chinese Music Innovation of Bang Luang Community for Cultural Tourism
Authors: พยอมแย้ม, ชลีรัตน์
สติมั่น, อนิรุทธ์
มั่งคั่ง, วรชิน
ปิ่นแก้ว, ปิยะวรรณ
อิ่มดี, ปิยนาถ
ยังรอด, นงนุช
เชื้อเมืองพาน, นิพล
Keywords: ดนตรีจีน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Issue Date: 18-Jul-2556
Abstract: แผนงานวิจัยชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง และนำมาสร้างนวัตกรรมให้กับชุมชนดังนี้ 1) หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีจีนชุมชนบางหลวงสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเจี้ยนหัว 2) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง 3) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และคู่มือการอบรม มัคคุเทศก์ท้องถิ่น 4) รูปแบบ เรขศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ของดนตรีจีนชุมชนบางหลวง และ 5)รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนเจี้ยนหัว เยาวชนในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีจีน นักดนตรีจีนวงรวมมิตรบางหลวง ผู้ประกอบการร้านค้า นักท่องเที่ยว และผู้นำชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ และแบบวัดเจตคติ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จากการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง นำผลมาสร้างหลักสูตรท้องถิ่นดนตรีจีน และ ทดลองใช้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะการเล่นดนตรีสูงขึ้น มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการ สอนในระดับมาก และมีเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปานกลาง 2. ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ดนตรีจีนชุมชนบางหลวง พบว่าคุณภาพสื่ออยู่ในระดับดีมาก ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมาก 3. ผลการสร้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่น พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้เข้า รับการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการออกแบบเรขศิลป์ พบว่า มีความเหมาะสมในด้านความสวยงาม ร่วมสมัย มีความหมายสื่อถึงวงดนตรีจีนรวมมิตร บางหลวง ดึงดูดความสนใจในเชิงพาณิชย์ เหมาะสมกับการนำไปวางกับสื่อชนิดต่างๆ มีเอกลักษณ์ของตนเองไม่ซ้ำแบบใคร เป็นสากล สื่อสารได้หลายรูปแบบ และเรียบง่าย สร้างความจดจำได้ดี 5. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับดนตรีจีนของชุมชน พบว่ามี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเล่นดนตรีตามกิจกรรมงานประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิม ก่อให้เกิดการรวมตัวและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 2) การเล่น ในกิจกรรมของชุมชน เช่น ที่แพอาหารทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างเจ้าบ้านกับผู้มาเยือน และ 3) การแสดงและเผยแพร่ความรู้ เช่น ที่บ้านดนตรีจีน และการแสดงบนเวทีในโอกาสต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักและเกิด ความภาคภูมิใจ พร้อมที่จะสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมสู่รุ่นต่อไป
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/624
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20190215103826.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.