Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/621
Title: แนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติด ในเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม Measures to Integrate Cooperation to Prevent Drug Abuse in the Peripheral Areas
Authors: อินทน์จันทน์, สุภาณี
Keywords: การบูรณาการ การมีส่วนร่วม ปัญหายาเสพติด
Issue Date: 18-Jul-2556
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กร และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการประชุมกลุ่มย่อย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลจาก (1) ผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอ พุทธมณฑล (2) เจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาสาสมัครตำรวจบ้านจากสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล และ (3) ผู้บริหารของเทศบาล ตำบลศาลายา ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์ปัญหายาเสพติด พบว่าในปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ ดังเห็นได้จากการจับกลุ่มมั่วสุมของเด็กวัยรุ่นที่มีเพิ่มมากขึ้นตามแหล่งชุมชนต่างๆ จำนวน ผู้ใช้สารเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดที่เข้ามาใช้ชุมชนเป็นแหล่งมั่วสุมมีเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจาก 2 ประการคือ (1) อำเภอ พุทธมณฑลเป็นพื้นที่ทางผ่าน โดยมีเส้นทางที่สามารถเข้าออกผ่านมาผ่านไปได้หลายเส้นทาง (2) ผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด ถูกผลักดันมาจากพื้นที่อื่น และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น สถานบันเทิง แหล่งมั่วสุมตามบ้านเช่า อพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม กลุ่มแก๊งมอเตอร์ไซค์ซิ่ง เป็นต้น 2. แนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ควรเริ่มต้นจาก (1) มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างลุ่มลึก (2) เน้นใช้วิธีการเพื่อการป้องกันปัญหายาเสพติดในระยะยาว (3) สร้างการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการให้เกิดขึ้นในพื้นที่ (4) มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (5) เร่งสร้าง ความไว้วางใจของชุมชนให้เกิดขึ้น (6) ต้องสร้างและพัฒนาทีมงานและเครือข่ายให้มีอุดมการณ์ร่วมกัน 3. ตัวแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานตามแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติด มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 3.1 ผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม ประกอบด้วย (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ (2) อาสาสมัครตำรวจบ้าน โดยองค์ประกอบ สำคัญในการดำเนินกิจกรรมคือ (1) พัฒนาสมาชิกในทีมให้มีทัศนคติที่ดี และมีอุดมการณ์ที่สอดคล้องกันในการทำงานเพื่อ แก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องในการทำงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย (2) มีการประชุมหารือถึงวิธีการที่เหมาะสมในการทำงานในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และกำหนดบทบาทหน้าที่ความ รับผิดชอบอย่างชัดเจนในการดำเนินภารกิจร่วมกัน รวมถึงควรมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ นอกจากนี้ วิธีการดำเนินการจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานให้มากที่สุด 3.2 ผู้สนับสนุน/เครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ โดยผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมควรมีการแสวงหา แนวร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายศักยภาพในการดำเนินงานให้สูงขึ้น ซึ่งการเลือกหน่วยงานเครือข่ายที่เข้ามาสนับสนุนการ ดำเนินงานนั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างน้อย 2 ประเด็นคือ (1) ศักยภาพในการสนับสนุนโดยเฉพาะในเรื่องที่ผู้ขับเคลื่อน กิจกรรมต้องการ และ (2) เป้าหมายของหน่วยงานเครือข่ายควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของกิจกรรมที่กำลังดำเนินการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมในอนาคต 3.3 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ประกอบด้วย (1) ผู้นำชุมชน (2) ครอบครับ/กลุ่มเป้าหมาย และ (3) ผู้เสพ/ผู้ค้าใน พื้นที่ โดยองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมคือ (1) พัฒนาสัมพันธภาพส่วนตัวที่ดีกับผู้นำชุมชนเพื่อช่วยให้การทำงาน ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (2) ต้องมีการประชาสัมพันธ์แนวทางการดำเนินงาน และผลเชิงบวกที่จะสร้างประโยชน์ ต่อชุมชนให้ชาวบ้านทราบก่อนเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับจากชุมชน (3) สร้างการ ส่วนร่วมจากชาวบ้านให้เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยอาจต้องใช้หลายวิธีการเข้ามาผสมผสานกันเพื่อช่วยกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิด ความตื่นตัวและเข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด รวมถึงเกิดทัศนคติที่ดีต่อตำรวจ และอาสาสมัครตำรวจบ้านที่ดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาในความเสียสละ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในดำเนินกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของ ส่วนรวม 4. ข้อเสนอแนะในการวิจัย สรุปได้ดังนี้ (1) ควรมีการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างแนวร่วมในการดำเนินกิจกรรม (2) มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับจากประชาชนในชุมชน และ (3) ควรสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ด้วยความเต็มใจ
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/621
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20190215100353.pdf238.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.