Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/611
Title: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2552 A Synthesis of theses Master of Education Program Department of Educational Administration Academic years 2548-2552
Authors: ธาดาตันติโชค, ธีรวุธ
Keywords: วิทยานิพนธ์, การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์, การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 30-May-2557
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของวิทยานิพนธ์ตามระเบียบวิธีวิจัย ประเด็นการวิจัย พื้นที่ที่ทำการวิจัย ระดับการศึกษาที่ทำการวิจัย ลักษณะประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกหรือสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วุฒิการศึกษาของผู้วิจัย และ 2) เพื่อสังเคราะห์สร้าง ข้อสรุปของผลการวิจัย แยกตามประเด็นการวิจัย ตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาพรวมของ องค์-ความรู้ที่ได้จากข้อค้นพบในการสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ โดยสังเคราะห์วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีการศึกษา 2548-2552 จำนวน 33 เล่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์เพื่อสร้างข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า จำนวนวิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2552 มีจำนวนทั้งหมด 33 เล่ม ปีที่มีวิทยานิพนธ์มากที่สุด คือ พ.ศ. 2549 มี 14 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 42.42 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจมากที่สุด จำนวน 18 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 54.54 พื้นที่ที่ทำการวิจัยมากที่สุด คือ จังหวัดนครปฐม มี 25 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 51 ศึกษากลุ่มประชากรที่เป็นครูมากที่สุด จำนวน 28 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 31.52 ใช้วิธีการเลือกหรือสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมากที่สุด จำนวน 18 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 52.94 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่เป็นแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 60.45 สถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ ค่าเฉลี่ย จำนวน 25 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 25 ส่วนสถิติทดสอบสมมติฐานที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (one-way ANOVA) จำนวน 9 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 9 ศึกษาวิจัยจำแนกตามโครงสร้างการบริหารงานของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มากที่สุด ได้แก่ ด้านวิชาการ จำนวน 24 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 60 วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีของ ผู้วิจัยที่มากที่สุด ได้แก่ วุฒิครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 20 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 60.6 การสังเคราะห์ผลการวิจัยของวิทยานิพนธ์ ตามโครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามีการศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการจัดภูมิทัศน์ของสถานศึกษา การพัฒนาการ บริหารหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารหลักสูตรการศึกษา การบริหารจัดการด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู พฤติกรรมการ บริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษา การบริหารงานวิชาการ ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา ศึกษาสุขภาพองค์การ การส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนด้วย กระบวนการบริหารงานคุณภาพวงจรเดมมิ่ง 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณมีกรณีศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ ใน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบงบประมาณ ระบบจัดซื้อ จัดจ้าง และระบบการเงิน เพื่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของ สถานศึกษา ศึกษาการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารจัดการ คุณภาพการศึกษาด้านการแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ศึกษาความผูกพันของครูที่มีต่อสถานศึกษาสังกัดเทศบาล และศึกษา ประสิทธิภาพในการบริหาร งานบุคคลของสถานศึกษา และ 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป การบริหารจัดการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง ประสิทธิภาพในการบริหารโรงเรียน กีฬาตามแนวปฏิรูปการศึกษา การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนเอกชน สภาพปัญหา
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/611
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20190214115510.pdf222.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.