Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/294
Title: | แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) The Theories of Association of South East Asian Nations (ASEAN) |
Authors: | บุญช่วย, สัณหกฤษณ์ |
Keywords: | อาเซียน ทฤษฎีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการ การระหว่างประเทศ |
Issue Date: | 31-Mar-2559 |
Abstract: | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา และวิเคราะห์พัฒนาการความร่วมมือ นโยบายต่างประเทศของบรรดารัฐสมาชิกต่าง ๆ รวมไปถึงการดำรงอยู่ของสมาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด สมมติฐานและทฤษฎีที่สำคัญต่าง ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน เกิดการปะทะกันของทฤษฎีที่ผันแปรไปตามยุค ตามสมัย ตอกย้ำให้เห็นว่าจำเป็นต้องใช้แนวคิด ทฤษฎีมากกว่าหนึ่งแนวคิดในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว ได้แก่ทฤษฎีสัจนิยมหรือสภาพจริงนิยม ถูกนำมาใช้อธิบายในระยะที่การรวมกลุ่มต้องการสร้างสันติภาพและความมั่นคงถาวร ในสภาวะสงครามเย็น เมื่อสภาวะผ่อนคลายลงการพึ่งพาอาศัยระหว่างกันในภูมิภาคเดียวกันมีมากขึ้น ทำให้ทฤษฎีแนวภารกิจ นิยมใหม่ที่เน้นการบูรณาการทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงพยายามอธิบายถึงความต้องการของอาเซียนที่จะร่วมมือกันให้มี ความเข้มข้นมากขึ้นผ่านข้อตกลงกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ไปทีละขั้นทีละตอนตามหลักการฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการ ภายในระหว่างกันตามแนวคิดสร้างสรรค์นิยม แต่ทั้งนี้ในช่วงโค้งสุดท้ายเมื่อโลกก้าวมาสู่จุดนี้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับ ภูมิภาคตะวันออกมากขึ้น กระบวนการบูรพาภิวัตน์จึงมาอธิบายถึงระเบียบใหม่ที่มีผลให้อาเซียนก็จำเป็นต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ ตามไปด้วย |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/294 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
สัณหกฤษณ์ บุญช่วย.pdf | 568.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.