Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1220
Title: Teachers’ Opinions Towards the Academic Leadership of School Administrators Under the Jurisdiction of the Bangna District Office, Bangkok Metropolis
ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร
Authors: Inoie, Pornchai
Tharasrisutti, Pavida
พรชัย อินอ้อย
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ
Keywords: The Leadership
The Academic Leadership
The School Administrators
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: ทัศนา วรรณประภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่าย เกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และกัลยมน อินทุสุต. (2558). EDA6135 การบริหารงานวิชาการ (Academic Administration). กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2557). การบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
ศิริมา พื้นสะอาด. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตบางนา. (2562, กรกฎาคม). ข้อมูลโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. เอกสารเสนอต่อที่ประชุมของการ ประชุมสัญจร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th ed.). New York: Routledge.
Abstract: In this research, the researcher studies and compares teachers’ opinions towards the academic leadership of school administrators under the jurisdiction of the Bangna District Office, Bangkok Metropolis, as classified by educational background and work experience. Extrapolating from the Cohen, Manion and Morrison Table so as to determine appropriate sample size, the researcher selected a sample population consisting of 183 teachers employed at schools under the jurisdiction of the Bangna District Office, Bangkok Metropolis, then employing the stratified random sampling method. The research Instrument was a five-rating scale questionnaire. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation. A t test technique and the one-way analysis of variance (ANOVA) technique were also employed by the researcher. When differences between groups were found, Scheffé’s multiple comparison was additionally utilized by the researcher. Findings are as follows: 1) The teachers were of the opinion that the academic leadership of school administrators in overall and each aspect were at the highest level, but the promoting professional development was in the high level. 2) The teachers who differed in educational level in their opinions toward the academic leadership of school administrators in overall and all aspects evince did not differences. The teachers who differed in work experience in their opinions toward the academic leadership in overall and each aspects evince did not differences, but monitoring student progress was statistically significant difference at .05 level. The teachers with work experience of less than 10 years had more opinions than the teachers with work experience of more than 20 years.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จากการเปิด ตารางของ Cohen et al. (2011: 147) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 183 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็น รายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้น ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่ มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการโดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มี ประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 10 ปี มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 20 ปี
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1220
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.