Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1099
Title: Model for Tobacco Prevention and Control in Yi-ngo Secondary Schools, Narathiwas Province
รูปแบบการป้องกันและควบคุมยาสูบในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
Authors: Adulroman, Azhar
อัสฮา อดุลย์รอหมาน
Keywords: in school
Narathiwat province
prevention and control
model
tobacco
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์และคณะ. (2554). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบรายจังหวัด. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและ จัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.).
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์และคณะ. (2557). สรุปสถานการณ์ปีจจัยเสี่ยงหลักด้านยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
ศรัญญา เบญจกุล, (2558). สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย : สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2558 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.).
สุนิดา ปรีชาวงษ์และคณะ, (2557). รวมพลัง "จัดการความรู้" เพื่อควบคุมยาสูบในสถานศึกษา การจัดการความรู้เพื่อการ ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา 2557. กรุงเทพฯ
อภิญญา ตันทวีวงศ์และคณะ. (2555). "โรงเรียนปลอดบุหรี่" จะสานต่ออย่างไร ให้เบ่งบานทุกพื้นที่. กรุงเทพฯ:
อภิญญา ตันทวีวงศ์และคณะ. (2555). เอกสารสรุปรายงานการถอดบทเรียนและจัดทำข้อเสนอในการ พัฒนาตัวแบบ "โรงเรียนปลอดบุหรี่" ระยะที่ 2 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. กรุงเทพฯ:
Usaha, J., Kanwihok,T., Julasereekul, S. & Harehansapong, W. (2015). Meta Synthesis of Preventive Factors for Cigarette Smoking among Thai Youths. Nonthaburi: Office of Tobacco Consumption Control, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (in Thai).
Abstract: This study was a descriptive research design aiming to study a model of tobacco prevention and control in Yi-ngo Secondary schools, Narathiwas Province. The data were collected by using the ASSIST screening test to 140 students in both schools, focus group discussion, and in-depth interviews among 30 participants including students, parents, teachers, community representatives, and local governors. All research tools were examined for logical content validity by 4 experts. The study revealed that 31 students (26.43%) in both schools had experienced in tobacco and other drugs use. 43 persons (30.71%) had ever used only tobacco and 60 persons (42.86%) had never tried. Those situations were contributed to the development of tobacco prevention and control models in both schools consisting of 7 aspects as follows: 1) school policies and community agreements; 2) management system and school committee ; 3) environmental management, 4) fully integrated tobacco control curriculum in schools 5) working against tobacco use by student leaders; 6) community and health networks. 7) continuing of tobacco control surveillance. In addition, this model was demonstrated that being a good role model was a critical role in tobacco prevention among students as well as moral and ethical values. For this model, both schools also developed similar protection patterns, except for the working of the student committee. Conclusions and suggestions: The finding showed that the integration among all levels including, individuals, family, community, and school, was a critical role contributing to the tobacco prevention and control in Secondary school model. However, this needs to be further evaluated and monitored for both its outcomes and impacts in a long period.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันและควบคุมยาสูบ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยใช้เครื่องมือ แบบสอบถามแบบคัดกรอง ASSIST ของWHO ในนักเรียนจำนวน 140ราย การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ตัวแทนชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่น จำนวน 30 คน เครื่องมือทั้งหมดได้รับการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (logical content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การสูบบุหรี่นักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในอำเภอยี่งอ จังหวัด นราธิวาส คือ มีประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารเสพติดอื่น ๆ จำนวน 37 ราย (ร้อยละ 26.43) การใช้ผลิตภัณฑ์ ยาสูบอย่างเดียวจำนวน 43 ราย (ร้อยละ 30.71) และไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพติดทุกชนิดจำนวน 60 ราย (ร้อยละ 42.86) ทำให้เกิดการมีรูปแบบการป้องกันและควบคุมยาสูบในโรงเรียนใน 7 ประเต็นดังต่อไปนี้คือ 1. นโยบายของโรงเรียน และข้อตกลงของชุมชน 2. ระบบการบริหารจัดการ โดยมีคณะทำงานของโรงเรียน 3. การจัดสภาพแวดล้อม การกำหนดพื้นที่ ห้ามสูบบุหรี่และการเฝ้าระวัง 4. การสอดแทรกการเรียนการสอนในชั้นเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร 5. บทบาท ของแกนนำนักเรียน 6. ชุมชนและเครือข่ายกรขับเคลื่อนทางสุขภาพ 7. การสอดส่องดูแลนักเรียนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบประเด็นเพิ่มเติมจากรูปแบบข้างต้น คือ การมีต้นแบบที่ดีหรือแบบอย่างที่ดี และการปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรมถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ โดยทั้งสองโรงเรียนมีรูปแบบการป้องกันที่คล้ายคลึงกัน เว้นแต่คณะทำงานของแกนนำ นักเรียน สรุปและเสนอแนะ จากการศึกษาข้างต้นพบว่า รูปแบบการดำเนินงานงานเพื่อการควบคุมป้องกันยาสูบ ในโรงเรียนระดับมัยมศึกษา เป็นการบูรณาการความร่วมมือของกลไกหลัก 4 ระดับ คือ ระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และ โรงเรียน อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาประเมินติดตามรูปแบบดังกล่าวทั้งในด้านผลลัพธ์และผลกระทบต่อการควบคุม ยาสูบในระยะยาวต่อไป
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1099
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.