Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1024
Title: The Factors Affecting the Decision of Customers in Loan by Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in Suphan Buri Province
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี
Authors: Seedee, Niramol
Seanghiran, Natthawan
Klinkesorn, Wanlapa
Sirinukulwattana, Suprawee
นิรมล สีดี
ณัฐวรรณ แสงหิรัญ
วัลลภา กลิ่นเกษร
สุประวีณ์ ศิรินุกุลวัฒนา
Keywords: Decision of Customers
Suphan Buri province
Provided Loan
Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.). (2562). ข้อมูลลูกค้าสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.).จังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จากระบบสาขาของธนาคาร.
ธารินี เหล็กกล้า. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรสาขาไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธรุกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ธีรเจต รุ่งเรืองอยู่เย็น และประสิทธิ์ มะหะหมัด. (N.A.). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ (กลุ่ม ข้าราชการครู) กรณีศึกษาสำนักพหลโยธิน ธนาคารออมสิน. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.utccmbaonline.com/ijbr/doc/(Edit)Id44-10-12-2015_13:49:44.pdf
ประภัสสร ธนะโสธร. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร(ธ.ก.ส.) สาขาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
วรทัศน์ วัชราลี. (2553). ประวัติเกษตรกรไทย. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จากhttp://bankasetthailand.blogspot.com/p/blog-page_4538.html
สมศักดิ์ ภู่งาม รังสรรค์ สิงหเลิศ สมสงวน ปัสสาโก และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร.(2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขามหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม., 3(1), 39-50.
Abstract: The purpose of this research study is to study the behavior of customers in requesting loans from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) in Suphan Buri province, and to analysis the factors affecting the customers' decision in loans by the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) in Suphan Buri province by using questionnaire. The populations are customers who use the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) in Suphan Buri Province approximately at 400 samples. The results of this research found that there were male approximately 61.80 percent, age range between 41-60 years, and the educational level among the lower / upper secondary / equivalent level around 42.30 percent. Besides, the most of occupation, range of monthly income and the number of family members were a farmer / farmer organization about 48.80 percent, income between 1 - 30,000 baht or 45.00 percent, and family members 4 - 6 merely at 67.50 percent respectively. In the behavior of customers in requesting loans from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), the news were recognized by the old status customers of the bank, the most spent the time to contact for a loan is between half an hour - 1 hour and twice a month. The purpose of the loan is to investment for their agriculture. The amount of the loan is in the range of 100,000 - 300,000 baht. For the satisfaction level of customers for requesting loans from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC), in overall, the satisfaction is at a high level when considering in each of 7 aspects, namely the product Interest rates and fees, the channel of service, the marketing promotion, the services of officer, the loan application process and the physical aspects. As for the results of the relationship between personal factors and behavior of customer groups found that gender, age, education level, occupation, and monthly income affect to the behavior of customer in part of the time spending, the receiving news, the number of times to use the service, the purpose of the loan, the loan type and the amount of the loan. In perspective satisfaction, the occupation has a statistically significant relationship with the satisfaction of the loan services with statistics at the significant level of 0.05.
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าที่มาใช้บริการในด้านการขอสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้มาใช้บริการในการขอสินเชื่อของธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่มาใช้บริการด้านสินเชื่อของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดสุพรรณบุรี วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ รวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 61.80 ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 41 – 60 ปี ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 42.30 อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีอาชีพเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 48.80 รายได้ต่อเดือน ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีรายได้อยู่ที่ 1 - 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.00 และจำนวนสมาชิกในครอบครัวของ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 4 – 6 คน คิดเป็นร้อยละ 67.50 ในส่วนของพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวสารนั้นจะ เป็นลูกค้าเก่า ใช้เวลาในการติดต่อขอสินเชื่ออยู่ในช่วงเวลา ครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง มาใช้บริการจำนวน 2 ครั้ง/เดือน วัตถุประสงค์ในการกู้เงินสินเชื่อเพื่อ ลงทุนประกอบอาชีพ ประเภทสินเชื่อเพื่อการเกษตร และมีจำนวนเงินขอกู้อยู่ในช่าง 100,000 – 300,000 บาท ต่อมาระดับความพึงพอใจลูกค้าที่มาใช้บริการในการขอสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) จังหวัดสุพรรณบุรีโดยในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้าน การให้บริการของพนักงาน ด้านกระบวนการขอสินเชื่อ และด้านลักษณะทางกายภาพ พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ระดับ มากเช่นเดียวกัน ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการด้าน สินเชื่อของกลุ่มลูกค้า คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ ด้านสินเชื่อ ได้แก่ ระยะเวลาการรับบริการ การรับข้อมูลข่าวสาร จำนวนครั้งใช้บริการ วัตถุประสงค์ในการขอกู้ ประเภทของ สินเชื่อ และจำนวนเงินที่กู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจนั้นพบว่า อาชีพมี ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการสินเชื่อในด้านภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1024
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.