Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1011
Title: | Factors Affecting the Work Success of the Elderly Club In the Prevention and Control of Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) with the Isan Community Way and Local Culture ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของชมรมผู้สูงอายุ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยวิถีชุมชนอีสานและวัฒนธรรมท้องถิ่น |
Authors: | Pattra, Sakchai Mahamit, Warawut ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา วราวุฒิ มหามิตร |
Keywords: | Isan community Local culture Dengue hemorrhagic fever (DHF) Prevention and control The elderly club |
Issue Date: | 9-Jul-2020 |
Publisher: | Nakhon Pathom Rajabhat University |
Citation: | พงษ์ระพี ดวงดี, มธุริน มาลีหวล, ปณิตา ครองยุทธ และถนอมศักดิ์ บุญสู่. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน
และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและ
วิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3 (1), 1-12. ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม และกฤษณ์ ขุนลึก. (2559). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของ ประชาชน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3 (1), 64-81. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. (2562). รายงานผลการปฏิบัติการประจำปี 2562. เอกสารอัดสำเนา. สรัญญา วิภัชชวาทีและคณะ (2560) รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการสร้างสุขในผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธในบริบท วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น . ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จาก http://198.7.63.81:8080/xmlui/bitstream/handle/123456789/169/2560-.pdf อธิปไตย จาดฮามรดและศุภลักษณ์สุวรรณชฎ. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารปัญญา 25 (2), 34-44. |
Abstract: | This study is a qualitative study. The objective is to study factors affecting the success of the
elderly club work in dengue hemorrhagic fever prevention and control through the Isan community way
and local culture in the Khok Mang Ngoi Sub-district, Khon Sawan district, Chaiyaphum province in the
prevention and control of dengue fever. The main informants were 25 elderly people and those involved
with the project by specific selection. Conducted a study between January and October 2019. Tools
used to collect data. Which is the focus group guideline and the in-depth interview guideline that the
was created by studying from the documents, concepts, theories and research. There are inspection of
equipment quality by experts and using the SWOT approach in group discussions and in-depth
interviews. The data was check the credibility with triangular methods (Triangulation). Data analysis was
analytic induction from focus group discussion and in-depth interviews.
The results showed that; The factors affecting the success of the elderly club work in dengue
hemorrhagic fever prevention and control through the Isan community way and local culture i.e. 1) the
volunteer skills of the elderly are good examples. 2) They will receive cooperation from the people in the
community because the Isan people have faith and respect for elders, which is an important factor in the
prevention and control of dengue fever from the community. 3) As well as being supported by the
prevention and control of dengue fever from government agencies in the community in terms of human
resources and budget, as well as support for dissemination. public relations resulting in continuous and
lasting prevention of dengue fever in the community forever. การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของ ชมรมผู้สูงอายุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยวิถีชุมชนอีสานและวัฒนธรรมท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุ และผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับโครงการ จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ทำการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม ถึง ตุลาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแนวทางการสนทนากลุ่ม (Focused group guideline) และแนวการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth interview guideline) ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แนวทาง SWOT ในการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการ วิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) จากการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของชมรมผู้สูงอายุในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกด้วยวิถีชุมชนอีสานและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ 1) การที่ผู้สูงอายุจิตอาสา มีทักษะ ความรู้ เป็นแบบอย่างที่ดี 2) การได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนเนื่องจากวัฒนธรรมคนอีสานมีความเชื่อและเคารพผู้อาวุโส เป็นปัจจัยสำคัญที่จะ ทำให้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหมดไปจากชุมชน อีกทั้ง 3) การได้รับการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกจากหน่วยงานภาครัฐในชุมชนในด้านทรัพยากร กำลังคน และงบประมาณ ตลอดจนการสนับสนุนการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ส่งผลทำให้เกิดผลลัพธ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1011 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของชมรมผู้สูงอายุ.pdf | 187.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.