Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/521
Title: การศึกษาสารสกัดสีธรรมชาติจากพืชเพื่อการย้อมสีโครโมโซม สำหรับห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Authors: แก้วพุก, วันเพ็ญ
Keywords: สารสกัดสีธรรมชาติจากพืช
การย้อมสี
โครโมโซม
Issue Date: 30-Mar-2558
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คัดเลือกพืชที่เหมาะสมในการสกัดสารสีสำหรับการย้อมสีโครโมโซม 2) ศึกษาชนิด ของตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการสกัดสารสีธรรมชาติจากพืช 3) ศึกษาอัตราส่วนของพืชต่อตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด สารสีธรรมชาติจากพืช 4) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการย้อมสีโครโมโซมของสีย้อมจากพืชกับสีย้อมคาร์บอลฟุกซิน 5) ศึกษาระยะเวลา การเก็บรักษาสีย้อมธรรมชาติที่สกัดได้ โดยทำการคัดเลือกพืช 5 ชนิด ได้แก่ ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกอัญชัน เปลือกแก้วมังกร เปลือกมังคุด และเปลือกมะเขือม่วง ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารสีธรรมชาติจากพืช ได้แก่ ชนิดตัวทำละลาย อัตราส่วนของพืชต่อตัวทำละลาย และนำไปเปรียบเทียบความสามารถการย้อมสีโครโมโซมของสีย้อมจากตัวอย่างพืชกับสีย้อม คาร์บอลฟุกซิน ผลการวิจัยพบว่า 1) สารสกัดสีจากดอกกระเจี๊ยบแดงให้ประสิทธิภาพการย้อมติดสีโครโมโซมเป็นสีแดง และสามารถสังเกตพฤติกรรมของโครโมโซมปลายรากหอมได้ชัดเจนที่สุด 2) การสกัดสารสีจากดอกกระเจี๊ยบแดงด้วยน้ำกลั่น สามารถย้อมติดสีโครโมโซม และสามารถสังเกตพฤติกรรมของโครโมโซมในระยะต่างๆ ของการแบ่งเซลล์ได้ชัดเจนที่สุด 3) สารสกัดสีจากดอกกระเจี๊ยบแดง สกัดด้วยน้ำกลั่นที่อัตราส่วน 1:2 (กรัม/มิลลิลิตร) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้การติดสีจนสามารถ ตรวจสอบลักษณะโครโมโซมปลายรากหอมในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้ดี 4) สารสกัดสีจากดอกกระเจี๊ยบแดงมีประสิทธิภาพ ในการย้อมโครโมโซมใกล้เคียงกับสีคาร์บอลฟุกซิน 5) สารสกัดสีธรรมชาติจากดอกกระเจี๊ยบแดงที่เก็บในรูปผง และในรูปของเหลว ที่อุณหภูมิ 4 °C ทั้ง 2, 4 และ 6 สัปดาห์ สามารถย้อมติดสีโครโมโซม และสามารถสังเกตพฤติกรรมของโครโมโซมในระยะต่าง ๆ ของการแบ่งเซลล์ได้ใกล้เคียงกัน
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/521
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วันเพ็ญ แก้วพุก.pdf15.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.