Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/438
Title: ความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อวิศวกรชาวไทย: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทรินซีบอร์ด Japanese executives’ satisfaction with Thai engineers: A case study of the automotive industry in the Eastern Seaboard Industrial Estate
Authors: งามตระกูลชล, ถาวร
Keywords: ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น วิศวกรชาวไทย ความพึงพอใจ นิคมอุตสาหกรรมอิสเทรินซีบอร์ด
Issue Date: 28-Sep-2560
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อวิศวกรไทยใน 2 มิติ คือ มิติ “พฤติกรรม การทำงาน” และมิติ “ทักษะการทำงาน” โดยศึกษาจากงานศึกษาวิจัยและบทความที่มีมาจนถึงปัจจุบันในเรื่องเกี่ยวกับความ ต้องการและความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นที่มีต่อเจ้าหน้าที่ชาวไทยในองค์การสัญชาติญี่ปุ่น และดำเนินการส่งแบบสอบถาม รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทรินซีบอร์ด จังหวัดระยองเพื่อทราบถึงความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นที่มีต่อวิศวกรไทยในปัจจุบันว่ามีเปลี่ยนแปลงจากงานวิจัยที่เคย มีมาหรือไม่ อย่างไร ผลวิจัยนำไปสู่การเสนอแนะเพื่อการเตรียมความพร้อมของวิศวกรไทยในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นอุตสาหกรรมยานยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทรินซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 75 คน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชากรมีโอกาสถูกเลือกเป็นตัวอย่างเท่า ๆ กัน และโอกาสที่ถูกเลือกเป็น อิสระต่อกัน ผู้วิจัยใช้วิธีการจับฉลาก (Drawing) จากการหาขนาดตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป เพื่อดำเนินการส่งแบบสอบถาม ตามจำนวนตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามปลายปิดแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามแบบปลายเปิดเพื่อขอ ความคิดเห็นเพิ่มเติม หลังจากทำการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ผลวิจัยเชิงปริมาณแล้ว นำมาตั้งเป็นคำถาม ดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจำนวน 20 รายจากผู้ตอบแบบสอบถามโดยคัดเลือกจากผู้สมัครใจให้สัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อวิศวกรชาวไทย โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจ ปานกลาง โดยทั้งด้านพฤติกรรมการทำงานและด้านทักษะการทำงานมีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานแยกตามประเด็นจากความพึงพอใจน้อยที่สุดไปหาน้อย ได้ดังนี้ การไม่ใช้เวลาในการปฎิบัติงาน ไปกับงานส่วนตัว การตรงต่อเวลา การมีความอดทนอดกลั้นต่อความคับข้องใจหรือความกดดัน การคำนึงถึงผู้อื่นเสมอเมื่อการ กระทำส่งผลต่อผู้อื่น การมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร การให้คำแนะนำแก่เพื่อนในการปรับปรุงงาน ไม่ใช้อารมณ์เมื่อเกิดความขัดแย้ง การเก็บความลับบริษัท การช่วยเหลือพนักงานผู้อื่นในการแก้ปัญหา ความรู้สึกต้องพัฒนาบริษัท ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อวิศวกรชาวไทยเกี่ยวกับทักษะการทำงาน แยกตามประเด็นจากความพึงพอใจน้อยที่สุดไปหาน้อย ได้ดังนี้ การคำนึงถึงภาพส่วนรวมบริษัท การตัดสินใจ การวางแผน การจัดการ เข้าใจถึงวิธีการสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับคน คำนึงถึงความสัมพันธ์ของบริษัทกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก การพัฒนาตนเอง การรับรู้บทบาท ภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ การมีทักษะการปฎิบัติงานทางวิชาชีพวิศวกรรม ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงความพึงพอใจของผู้บริหารชาวญี่ปุ่นต่อวิศวกรชาวไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต 2 ประเด็น คือ ประเด็น “การใช้อารมณ์เมื่อเกิดความขัดแย้ง” ในหัวข้อพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น (Courtesy) ของด้านพฤติกรรมของวิศวกร ชาวไทยในกรอบการวิจัย แสดงถึงความพึงพอใจที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบเมื่อเทียบกับอดีต และประเด็น “การทำงานเป็นทีม”ในหัวข้อทักษะด้านคน (Human skill) ของทักษะการทำงานของวิศวกรชาวไทยในกรอบการวิจัย แสดงถึงความพึงพอใจที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเมื่อเทียบกับอดีต
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/438
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
89.ถาวร งามตระกูชล.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.