Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/422
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีพันธ์ลม, ธันยนันท์-
dc.contributor.authorแสงสุขเอี่ยม, พรรณทิพย์-
dc.contributor.authorสุวรรณมุสิทธิ์, เอนก-
dc.contributor.authorลิ้มปฐมชัยชาญ, รัชนี-
dc.date.accessioned2018-12-11T08:19:06Z-
dc.date.available2018-12-11T08:19:06Z-
dc.date.issued2558-03-30-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/422-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำในชุมชนไผ่หูช้าง ให้กับกลุ่มเยาวชนเพื่อให้มี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง รักษ์ไผ่หูช้าง ประกอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีหน่วย การเรียนรู้ 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 ชุมชนไผ่หูช้าง หน่วยที่ 2 แหล่งน้ำกับชุมชุนไผ่หูช้างและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และ หน่วยที่ 3 อยู่อย่างพอเพียง เลี่ยงก่อปฏิกูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 คน และตัวอย่างน้ำจากลำรางไผ่หูช้าง กำหนดจุดเก็บตัวอย่างจำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 หลังวัดไผ่หูช้าง จุดที่ 2 สะพานก่อนเข้าหมู่บ้านไผ่หูช้าง จุดที่ 3 ประตูน้ำลำรางไผ่หูช้าง และจุดที่ 4 บ่อดิน ใกล้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไผ่หูช้าง สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผลวิจัยพบว่า ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง รักษ์ไผ่หูช้าง มีประสิทธิภาพของ ชุดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 98.62/73.75 แสดงว่าชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานด้านประสิทธิภาพของ กระบวนการ แต่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ผลการวิเคราะห์คะแนนทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และคะแนนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และแตกต่างทางสถิติที่ระดับ นัยสำคัญ .05 ทั้งนี้คะแนนความก้าวหน้าของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ไม่มีอิทธิพลร่วม อย่างมีนัยสำคัญ (p>.05) หลังการใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง รักษ์ไผ่หูช้าง ทำให้เกิดรูปแบบการเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำ ในชุมชนไผ่หูช้าง โดยการจัดตั้งกลุ่มรักษ์ไผ่หูช้างผ่านสื่อออนไลน์ Facebook มีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 43 คน นำความรู้ ที่ได้รับการถ่ายทอดไปเผยแพร่ และนำไปใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของชุมชนen_US
dc.subjectการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำen_US
dc.subjectลำรางไผ่หูช้างen_US
dc.subjectชุดการเรียนรู้en_US
dc.titleรูปแบบการเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำในชุมชนไผ่หูช้าง ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ธันยนันท์ ศรีพันธ์ลม.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.