Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/382
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอังคประเสริฐกุล, ณัฐธยาน์-
dc.contributor.authorเกียรติศิริ, เอมวดี-
dc.date.accessioned2018-12-11T04:51:08Z-
dc.date.available2018-12-11T04:51:08Z-
dc.date.issued2558-03-30-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/382-
dc.description.abstractแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการสร้างเสริมพลังอำนาจของครอบครัวในการดูแลภาวะโภชนาการผู้สูงอายุที่ป่วย เป็นโรคเบาหวานและ/หรือระดับไขมันในเลือดสูง ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ ปีค.ศ. 2000 ซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะดังนี้ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาพบว่าการส่งเสริมให้มีโภชนาการที่เหมาะสม เป็นการดูแลที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ/หรือระดับไขมันในเลือดสูงการดูแลทางโภชนาการ จะช่วยให้มีการควบคุมการเผาผลาญอาหารที่ดีขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงทางบริโภคนิสัยด้วย การควบคุมอาหารจะทำให้ ร่างกายมีการปรับระดับกลูโคสและไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ ระยะที่ 2 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากแหล่งข้อมูล ประเมินคุณภาพระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์วิเคราะห์สังเคราะห์ประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักฐาน เชิงประจักษ์ไปใช้ได้ทั้งหมดจำนวน 16เรื่อง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ระดับ A มี 3 เรื่อง, ระดับ B มี 11 เรื่อง, ระดับ C มี 2 เรื่องและไม่มีระดับ D ผลการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาสร้างแนวปฏิบัติการสร้างเสริมความสามารถของ ครอบครัวในการดูแลภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1) ด้านผู้สูงอายุ ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มตัว หลีกเลี่ยงแป้ง อาหารหวาน เพิ่มอาหารที่มีกากใย ผักและผลไม้ 2) ด้านครอบครัว โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีปฏิบัติตนในการดูแลภาวะโภชนาการ 3) การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวกับผู้สูงอายุ การพูดคุย กระตุ้นเตือนในการควบคุมอาหารด้วยท่าทีที่เป็นมิตร จะช่วยให้ผู้สูงอายุควบคุมการ เลือกรับประทานอาหารดีขึ้น จะทำให้ผู้สูงอายุมีพลังความสามารถในการควบคุมระดับไขมันหรือน้ำตาลในเลือดได้ดีร่างแนว ปฏิบัติผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและการนำไปใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและได้มีการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะสำหรับ ในระยะที่ 3 การวางแผนนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปทดลองใช้ และระยะที่ 4 วางแผนนำแนวปฏิบัติที่ผ่านการปรับแก้ไขแล้วไปใช้ จริงในหน่วยงานในอนาคต ผู้ศึกษาเสนอแนะว่าควรเน้นการนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้และ ประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริงพยาบาลและทีมสุขภาพอื่นควรเตรียมความรู้และทักษะในการใช้แนวปฏิบัติรวมถึงควรทำวิจัย เชิงผลลัพธ์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติen_US
dc.subjectภาวะโภชนาการen_US
dc.subjectการดูแลผู้สูงอายุen_US
dc.subjectการสร้างเสริมความสามารถของครอบครัวen_US
dc.titleการสร้างเสริมพลังอำนาจครอบครัวในการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ณัฐธยาน์ อังคประเสริฐกุล.pdf701.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.