Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/289
Title: รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
Authors: เชื้อเมืองพาน, นิพล
Issue Date: 31-Mar-2559
Abstract: การวิจัยรูปแบบการการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วม และรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่พุน้ำร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การประชุม กลุ่มย่อย (Focus group) แบบสอบถาม การสำรวจ การสังเกตการณ์ ทางการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก การท่องเที่ยว เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้นำชุมชน หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวน้ำพุร้อนภาคตะวันตก ปราชญ์ชุมชน ชาวบ้านทั่วไปในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 3 แห่ง จากนั้นนำผลที่ได้จากข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ตามประเด็น (Content analysis) เพื่อนำมาอภิปรายผลการศึกษา ผลวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบทและอัตลักษณ์การท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนที่ศึกษามีบริบทและอัตลักษณ์เฉพาะแห่ง แต่ยังขาดการ ดึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ 2. ด้านรูปแบบการท่องเที่ยวในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว พบว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีการผสานรูปแบบการ ท่องเที่ยวกับทรัพยากรท่องเที่ยวอื่น และกิจกรรมท่องเที่ยวอื่น ๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการท่องเที่ยวจากการใช้ ประโยชน์พุน้ำร้อนในแต่ละแห่ง 3. ด้านต้นแบบและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ พบว่า มีความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยกูั่บการบริหารจัดการท่องเที่ยว ในแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ บางแห่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติ บางแห่งอยู่ในความดูแลขององค์การ บริหารส่วนตำบล และบางพื้นที่อยู่ในการบริหารจัดการในโดยชุม ทำให้บทบาทการมีส่วนร่วมมีความแตกต่างกัน คือ ในการบริหาร จัดการโดยชุมชน ชาวบ้านจะมีบทบาทการบริหารจัดการในระดับมากกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล และ อุทยานแห่งชาติ ตามลำดับนอกจากนี้ยังพบว่าการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนของประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนแม่บทให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการวางแผน และกำหนดทิศทางการพัฒนาแหล่งพุน้ำร้อนทั้งหมดที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศให้สามารถใช้ประโยชน์ เชิงการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพ และคงความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์แต่ละพื้นที่ไว้สืบไป นอกจากนี้ยังพบว่าการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนของประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนแม่บทให้เกิดขึ้นเพื่อให้ เกิดการวางแผน และกำหนดทิศทางการพัฒนาแหล่งพุน้ำร้อนทั้งหมดที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศให้สามารถใช้ประโยชน์ เชิงการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพ และคงความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์แต่ละพื้นที่ไว้สืบไป
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/289
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
นิพล เชื้อเมืองพาน.pdf912.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.