Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/283
Title: การจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทแหล่งพุน้ำร้อนและแหล่งพุน้ำเย็น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
Authors: มูลมิตร์, พิมพ์ชนก
Keywords: แนวทางการจัดการ
พุน้ำร้อน
พุน้ำเย็น
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Issue Date: 31-Mar-2559
Abstract: การจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทแหล่งพุน้ำร้อนและแหล่งพุน้ำเย็น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและเรียนรู้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไต้หวัน 2) เพื่อศึกษาดูงานด้านศักยภาพและการจัดการ การท่องเที่ยว การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งโครงสร้างทางภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวประเภทแหล่งพุน้ำร้อน และแหล่งพุน้ำเย็น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภท แหล่งพุน้ำร้อนและแหล่งพุน้ำเย็น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และ 4) เพื่อได้แนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภท แหล่งพุน้ำร้อนและแหล่งพุน้ำเย็น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในการเป็นต้นแบบการศึกษาด้านการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ ในระดับประเทศ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนในท้องถิ่น โดยเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในแหล่งพุน้ำร้อนในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นที่นิยมของคนไต้หวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลรักษาสุขภาพ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทแหล่งพุน้ำร้อนในไต้หวันมีการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ เป็นแหล่งที่มีน้ำพุร้อนที่สำคัญในโลกที่ช่วยในการรักษาสุขภาพ ประกอบกับวิวทิวทัศน์ของภูเขาที่สวยงาม และเป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีความโดดเด่น มีทั้งน้ำพุร้อน น้ำพุเย็น น้ำพุโคลน การบริหารจัดการการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะบริหาร โดยเอกชนที่มาจัดตั้งโรงแรมรอบแหล่งน้ำพุร้อน และได้รับการดูแลจากรัฐบาล โดยมีแนวการการบริหารจัดการแหล่งพุน้ำร้อน ดังนี้ แนวทางด้านการพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยมีการบริหารจัดการอย่าง เป็นระบบ มีการออกใบประกาศนียบัตรจากหน่วยงานภาครัฐให้กับสถานประกอบการที่พักที่มีการให้บริการแช่ พุน้ำร้อน พร้อมทั้งมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพุน้ำร้อน มหาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์เจียหนานเป็นหน่วยงานที่มีการศึกษา แนวทางด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยมีป้ายแจ้งนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับอุณหภูมิของพุน้ำร้อน ทั้งที่เป็นบ่อแช่เท้า หรืออ่างแช่ตัว และจะมีวิธีการลงแช่พุน้ำร้อนให้นักท่องเที่ยวทราบ แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทาง การท่องเที่ยว จะมีโรงแรมพุน้ำร้อนเกิดขึ้นกระจายไปทุกแห่งพร้อมให้บริการสปา อีกทั้งยังมีการแบ่งโซนบ่อแช่เป็นประเภทต่าง ๆ อย่างชัดเจน แนวทางการสร้างคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว จะมีระบบการจัดการเรื่องพุน้ำร้อน คุณภาพของพุน้ำร้อน อุณหภูมิของพุน้ำร้อน ที่จะให้บริการแขก รวมทั้งเรื่องการบำบัดพุน้ำร้อนที่ใช้ประโยชน์แล้ว ตลอดจนในเรื่องกลยุทธ์การตลาด การประชาสัมพันธ์ใน การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพักและใช้บริการแช่พุน้ำร้อนตลอดทั้งปี
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/283
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พิมพ์ชนก มูลมิตร์.pdf554.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.