Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/272
Title: วัฒนธรรมองค์กร: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานคู่ขนานกับผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรพึงประสงค์ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครปฐม
Authors: กีรติบูรณะ, ยิ่ง
Keywords: กระบวนการบริหาร
ประชาพิจารณ์
ถ่วงดุลอำนาจ
ประเมินผลงาน
Issue Date: 31-Mar-2559
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแผนปฏิบัติงาน แบบคู่ขนานกันระหว่างประชาชนกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อแสวงหาแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านกระบวนการบริหารได้แก่ การวางแผนงาน การจัดองค์กร การจัดคณะปฏิบัติงาน การสั่งการ การประสานงาน การรายงานผล การปฏิบัติงาน และการเงินงบประมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 95 คน แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ 20 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 35 คน และเป็นประชากรทั่วไป 40 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายได้ 4 อำเภอจาก 7 อำเภอของจังหวัดนครปฐม จากนั้นสุ่มอย่างง่ายแต่ละอำเภอใน 4 อำเภอ เพื่อให้ได้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป รวมกันเท่ากับ 95 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับ กระบวนการบริหาร (POSDCoRB) และเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร รวมทั้งการสนทนากลุ่มย่อย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปที่เรียกว่าแบบอุปนัย (Analytic Induction) ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ มีความเป็นไปได้ มากทีเดียวที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมปฏิบัติงานคู่ขนานกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในด้านการวางแผนงาน ด้านการประสานงาน และด้านการเงินการงบประมาณ ส่วนด้านที่มีความเป็นไปได้ระดับปานกลางก็มีด้านการรายงานผลการ ปฏิบัติงาน ส่วนที่มีความเป็นไปได้น้อย แต่ด้านการจัดองค์กรด้านคณะผู้ปฏิบัติงาน และด้านการวินิจฉัยสั่งการ สำหรับการแสวงหาแนวทางที่พึงประสงค์ในการเสรอมสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านกระบวนการบริหาร พบว่ามี 4 แนวทาง คือ แนวทางแรกคือ การประชาพิจารณ์ (Public Hearing) โดยการออกหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเชิญประชุม สำหรับด้าน การวางแผนงานของแต่ละหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ แนวทางที่สองคือการแต่งตั้งประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกันตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจการปฏิบัติงานทางราชการ (Check & Balance) ทุกครั้งที่มีงานก่อสร้างขององค์กรปกครองและแนวทางที่สามคือ การแต่งตั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรประจำปี (Evaluation Board) ส่วนแนวทางสุดท้าย คือ การเชิญประชาชนให้เข้าร่วมฟังการประชุมสภาองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่นทุกครั้งที่มีการประชุมสภา (Local Assembly) ทั้งนี้ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/272
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ยิ่ง กีรติบูรณะ.pdf585.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.