Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1165
Title: The Influence of The Content Type of Facebook Posts on Information Searching Behavior of Thai People for Domestic Travel
อิทธิพลของประเภทเนื้อหาการโพสต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การค้นหาข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยวภายในประเทศ
Authors: Boonkloy, Tawinun
Vannavanit, Yupawan
ทวินันท์ บุญคล้อย
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์
Keywords: The content type of Facebook posts
Information searching behavior of domestic travel
Domestic travel
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: กระทรวงการท่องเที่ยวและกี่ฬา (2561). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2561 (ประเทศ). ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562 จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=531
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2562). แผนปฏิบัติการของ ททท. ปี 2562 ฉบับสมบูรณ์. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562 จาก https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report
ชนิตว์ปิยา แสงเย็นพันธุ์. (2554). ผลของข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรหบัณฑิต สาขวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดวงใจ จิวะคุณานันท์. (2561). อิทธิพลของ Reviewer ในสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยว ในจังหวัดที่ เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทย. กรค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) (2560), ผลวิจัยเชิงสำรวจ สถิติการท่องเที่ยวของ คนกรุงเทพมหานคร ด้านการค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://www.bltbangkok.com/poll/4102/
สำนักงานพัฒาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2561). รายงานผลการ สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2561. คันเมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html
Thoth Zocial (2018). สรุปเทรนด์โซเชียลมีเดียจากงาน Thaiand Zocial Award 2018. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.thumbsup.in.th/tza-2018-social-media-data-is-sexy,
De Vries, L., S. Gensler and P. S. Leeflang. (2012). Popularity of Brand Posts on Brand Fan Pages: An Investigation of the Effects of Social Media Marketing. Journal of interactive marketing, 26(2), 83-91.
Kotler and Keller. (2016). The Buying Decision Process: The Five-Stage Model. Pearson Education, Inc., Marketing Management. (194-202). Kendallville: Courier.
Malhotra. (2010). Measurement and Scaling: Noncomparative Scaling Techniques. Pearson Education, Inc., Marketing Research An Applied Orientation. (319). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Pulizzi and Barrett. (2009). GET CONTENT GET CUSTOMERS Turn Prospects into Buyers with Content Marketing by McGraw-Hill eBooks. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.nima.today/wp- content/uploads/2018/11/Get-Content-Get-Customers-Joe-Pulizzi-And-Newt-Barrett.pdf
Abstract: The objectives of this study were (1) to investigate the influence level of information and entertainment content of Facebook posts (2) to investigate information searching behavior of Thai people for domestic travel (3) to investigate the influence of the content types on Facebook posts that related to information searching behavior of Thai people for domestic travel. The sample was four hundred Thai people who have used Facebook to search domestic travel information. The data collection was conducted through online questionnaires that posts as link on Facebook by using quantitative method (Convenience Sampling). Data were analyzed through descriptive statistics namely frequency, percentage, mean and standard deviation. Multiple regression analysis was used to test the hypothesis at the statistical significance level of 0.05. The results were shown as follow; Most of samples are females, age between 25-34 years old, work in private company, highest education of bachelor’s degree and average monthly income between 25,001-35,000 baht. Content types, information and entertainment postings on Facebook had the most influence level. Most of samples agreed that tourism contents on Facebook are the useful source of information searching for domestic travel. The hypothesis testing shown that the information and entertainment contents on Facebook have affected on the information searching behavior of Thai people for domestic travel. Beta is 0.395, 0.488. The influence of the content type on Facebook posts can explain the information searching behavior of Thai people for domestic travel at 52.4%
การศึกษาเรื่องอิทธิพลของประเภทเนื้อหาการโพสต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการค้นหา ข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยวภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับอิทธิพลของประเภทเนื้อหาการโพสต์เชิง ข้อมูลและเชิงบันเทิงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศบนเฟซบุ๊ก (2) พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยว ภายในประเทศบนฟซบุ๊ก (3 อิทธิพลของประเกทเนื้อหาการโพสต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวบนเฟซบุ๊ก ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ ค้นหาข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยวภายในประเทศ ใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยโพสต์ลิงก์ (Link ของแบบสอบถามเข้าไปในเฟซบุ๊ก เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งเป็นคนไทย ที่เคยใช้เฟชบุ๊กเพื่อค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวภายในประเทศ ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Samping) และนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาด้วยค่าความถี่ รู้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis ในการทดสอบสมมติฐาน ที่กำหนดระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,00 1-35,000 บาท โดยประเภทเนื้อหาการโพสต์เชิงข้อมูล และเชิงบันทิงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศบนเฟซบุ๊ก มีระดับอิทธิพลในเกณฑ์มากที่สุด และมีระดับความคิดเห็นใน เกณฑ์เห็นด้วยมากที่สุด ว่าเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลเพื่อการเดินทาง ท่องเที่ยวภายในประเทศ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า อิทธิพลของประเภทเนื้อหาการโพสต์เชิงข้อมูลและเชิงบันเทิงเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวบนเฟชบุ๊ก ส่งผลต่อพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยวภายในประเทศ มีค่าสัมประสิทธิ์ ความฤดถอย เท่ากับ 0.395 และ 0.488 ตามลำดับ โดยทั้งสองประเภทของการโพสต์สามารถอธิบายความแปรผันของ พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของคนไทยเพื่อท่องเที่ยวภายในประเทศได้ ร้อยละ 52.4
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1165
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.