Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1133
Title: Nursing care of Coronary Artery Disease Patients undergone Stress echocardiography: A Case study
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ ที่ได้รับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน ความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Stress echocardiography): กรณีศึกษา
Authors: Boonyong, Ubon
อุบล บุญยงค์
Keywords: coronary artery disease
case study
nursing care before
during
after stress echocardiography
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease ปี 2561. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562 จาก http://ddc.moph.go.th/upload/files/1081120191227091
จันทร์เพ็ญ ผลวงษ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดิน สายพาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ณรงค์กร ชัยวงศ์. (2561). การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 61 (1), 56-64.
ทัศนีย์ แดขุนทด. (2550). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี โดยใช้รูปแบบผู้จัดการรายกรณี ณ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 2550; 8(2):21-36
นิยดา อกนิษฐ์และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ. วารสารกองการพยาบาล, 2556; 36
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลัง นานาวิทยา.
สมจิต หนุเจริญกุล. (2552). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด. ใน สมจิต หนุเจริญกุล. (บรรณาธิการ), การพยาบาล อายุรศาสตร์ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง.
อภิสิทธิ์ ลี่ดำรงวัฒนากุล. (2559). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ จากการตรวจ สมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารแพทย์เขต 4-5, 59 (1), 46-55.
Lau TK, Navarijo J, Stainback RF. Pseudo-False-Positive exercise treadmill testing. Tex Heart Inst J. 2000, 28 (12): 308–341.
Medical Advisory Secretariat: Stress echocardiography for the diagnosis of coronary artery disease: an evidence-based analysis. Ont Health Technol Assess Ser 2010, 10 (9), 1-16.
Peteiro J, Fabregas R, Montserrat L, Martinez D, Castro-Beiras A: Comparison of treadmill exercise echocardiography before and after exercise in the evaluation of patients with known or suspected coronary artery disease. J Am Soc Echocardiogr 1999 Dec, 12 (12), 1073–1079.
Abstract: Coronary artery disease can be diagnosed by doing Stress echocardiography and use to prognosis in high risk patient,such as young patients without significant risk factors for coronary artery disease with non-anginal chest pain. In order to assess whether exercising the heart muscle receives enough oxygen from the bloodstream. Stress echocardiography provide a means of identifying myocardial ischemia by detection of wall motion abnormalities. This procedure may cause complications are dizziness, nausea, chest pain, high blood pressure, arrhythmia, heart attack. Nurses play an important role in preparing patients before, during and after the procedure effective nursing helps the patient to be safe without complications from the procedure. Objectives: To present the disease progression, treatment, and nursing of coronary artery disease patients who has been examined stress echocardiography. Method: Two cases undergone stress echocardiography were investigated during September 2019 - March 2020. Study results: The first patient is Thai 58-year-old male came with tiredness and intermittently epigastric pain in the past 24 hours. Stress echocardiography shows coronary arteries problem and there was Complications while performing the procedure. After that, He received nursing care and medical operation CAG+ PCI and CABG.The second patient came with tiredness, angina and dyspnea for last 12 hours. He had the stress echocardiography, the result from Stress echocardiography shows positive and there was no Complications while performing the procedure. He received the medical operation coronary artery angiography, percutaneous coronary intervention and coronary artery bypass grafting Conclusions: The nurses play an important role to the coronary artery disease patient who has been examined by stress echocardiography because they have to evaluate rapidly and correctly in order to give further nursing care and prevent any complications that could cause high fatal rate
โรคหลอดเลือดหลอดเลือดโคโรนารี่ (Coronary artery disease) พบได้จากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน ความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Stress echocardiography) เป็นการตรวจเพื่อพยากรณ์โรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เพื่อ ประเมินว่าขณะออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนจากกระแสเลือดเพียงพอหรือไม่ ร่วมกับการใช้คลื่นเสียงสะท้อน ความถี่สูง ตรวจดูการบีบตัวของหัวใจ เพื่อวินิจฉัย ในการตรวจอาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการตรวจ ขณะตรวจ และหลังการตรวจ การพยาบาลที่มี ประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิต วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอการดำเนินของโรค การรักษา และการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ ที่ได้รับ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย วิธีการศึกษา: ศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ราย ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนกันยายน 2562–มีนาคม 2563 ผลการศึกษา: จากการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ 2 ราย พบว่า รายที่ 1 ชายไทยอายุ 58 ปีมาด้วย 1 วันก่อน มีอาการเหนื่อย จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ ได้รับการรักษาด้วยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการ ออกกำลังกาย Stress echocardiography ให้ผลบวก โดยมีลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงถึงลักษณะของกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยขณะตรวจมีอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เวียนศีรษะ มีการดูแลตามแผนการพยาบาล ต่อมา ได้ส่งทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ พบว่ามีหลอดเลือดตีบ 3 เส้น ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass grafting) 5 เส้น ผู้ป่วยรายที่ 2 มาด้วย 12 ชั่วโมงก่อนมา มีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก รักษาไม่ต่อเนื่อง ได้รับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Stress echocardiography) ให้ผลบวก โดยมีลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงถึงลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตรวจ ส่งตรวจสวนหัวใจ พบว่ามีหลอดเลือดตีบ 3 เส้น 2 เดือนต่อมาได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass grafting) 4 เส้น สรุป: บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ ที่ได้รับการรักษาด้วยการตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Stress echocardiography) มีความสำคัญในการดูแลก่อนตรวจ ในการประเมิน คัดกรอง อธิบายขั้นตอน การเตรียมผู้ป่วย การสอนการเดินบนสายพานตามขั้นตอน การดูแลขณะตรวจ ให้ การพยาบาลเฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ได้มากขึ้น และการพยาบาลหลังการตรวจ การให้คำแนะนำต่างๆ เป็นต้น
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1133
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.