Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/113
Title: พุทธจริยศาสตร์กับการดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์
Authors: วงษ์สอาด, สรวิชญ์
Keywords: พุทธจริยศาสตร์
การดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์
Issue Date: 29-Mar-2561
Abstract: จากการศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์กับการดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ พบว่า การดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ตาม หลักของการกระทำว่า “อะไรดี” หรือ“อะไรไม่ดี”“อะไรควร” หรือ “อะไรไม่ควร” ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินความดีที่เราต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ ศีล 5, กุศลกรรมบถ 10, อริยอัฏฐังคิกมรรค ทั้ง 3 ประการนี้ ซึ่งเป็นการตัดสินทางจริยธรรม เพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้เป็นอย่างดี และมีความสุข ในการมีคุณธรรมจริยธรรมต่กัน คือ 1) คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ของมนุษย์เป็นเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายศีลธรรมเบื้องต้น 2) คุณธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขั้นกลาง เพื่อยกระดับ คุณธรรมจริยธรรมให้สูงขึ้น 3) คุณธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขั้นสูง ซึ่งเป็นจริยธรรมระดับสูงสุด คุณธรรมทั้ง 3 ประการนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางพุทธจริยศาสตร์อาศัยการกระทำใน 2 ลักษณะเป็นตัวจำแนก คือ 1) การกระทำใดที่มี รากฐานมาจากกุศลมูล ถือว่า เป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์มีคุณค่า และ 2) การกระทำที่มีรากฐานมาจากอกุศลมูล ถือว่า เป็นการกระทำที่เป็นฝ่ายชั่ว ซึ่งมีหลักสำหรับพิจารณาตัดสินว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรสมควร อะไรไม่สมควร โดยมีหลัก พิจารณา ดังนี้ คือ เจตนาของการกระทำ บทพุทธบัญญัติ พฤติกรรมของจิต ผลของการกระทำ และผลของการปฏิบัติ ในทาง พุทธจริยศาสตร์ได้นั้นจะต้องลงมือปฏิบัติเอง และพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเอง จึงจะได้ชื่อว่า รู้จักกฎเกณฑ์ในการตัดสินความ ดีที่ถูกต้อง และได้ผลอย่างจริงแท้ โดยไม่ต้องให้ใครมาหลอกลวงได้นั้นเองจากการศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์กับการดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ พบว่า การดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ตาม หลักของการกระทำว่า “อะไรดี” หรือ“อะไรไม่ดี”“อะไรควร” หรือ “อะไรไม่ควร” ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินความดีที่เราต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ ศีล 5, กุศลกรรมบถ 10, อริยอัฏฐังคิกมรรค ทั้ง 3 ประการนี้ ซึ่งเป็นการตัดสินทางจริยธรรม เพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้เป็นอย่างดี และมีความสุข ในการมีคุณธรรมจริยธรรมต่กัน คือ 1) คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ของมนุษย์เป็นเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายศีลธรรมเบื้องต้น 2) คุณธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขั้นกลาง เพื่อยกระดับ คุณธรรมจริยธรรมให้สูงขึ้น 3) คุณธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขั้นสูง ซึ่งเป็นจริยธรรมระดับสูงสุด คุณธรรมทั้ง 3 ประการนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางพุทธจริยศาสตร์อาศัยการกระทำใน 2 ลักษณะเป็นตัวจำแนก คือ 1) การกระทำใดที่มี รากฐานมาจากกุศลมูล ถือว่า เป็นการกระทำที่ดีมีประโยชน์มีคุณค่า และ 2) การกระทำที่มีรากฐานมาจากอกุศลมูล ถือว่า เป็นการกระทำที่เป็นฝ่ายชั่ว ซึ่งมีหลักสำหรับพิจารณาตัดสินว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรสมควร อะไรไม่สมควร โดยมีหลัก พิจารณา ดังนี้ คือ เจตนาของการกระทำ บทพุทธบัญญัติ พฤติกรรมของจิต ผลของการกระทำ และผลของการปฏิบัติ ในทาง พุทธจริยศาสตร์ได้นั้นจะต้องลงมือปฏิบัติเอง และพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเอง จึงจะได้ชื่อว่า รู้จักกฎเกณฑ์ในการตัดสินความ ดีที่ถูกต้อง และได้ผลอย่างจริงแท้ โดยไม่ต้องให้ใครมาหลอกลวงได้นั้นเอง
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/113
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สรวิชญ์ วงษ์สอาด.pdf429.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.