Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/89
Title: ช่วยฟื้นคืนชีพอย่างไรให้รอดชีวิต
Authors: จอกกระจาย, พรทิพย์
Keywords: การช่วยฟื้นคืนชีพ
ห่วงโซ่การรอดชีวิต
รอดชีวิต
Issue Date: 29-Mar-2561
Abstract: ภาวะหัวใจหยุดเต้นนั้นไม่สามารถคาดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน อย่างไร หรือเกิดจากสาเหตุอะไร การช่วยชีวิต ที่สำคัญเป็นอันดับแรก จึงเป็นใครก็ได้ที่ประสบเหตุเป็นคนแรกที่พบผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนั้น ผู้ป่วยส่วนมากที่หัวใจ หยุดเต้นนั้นมักเกิดขึ้นภายนอกโรงพยาบาล หากเกิดภายนอกโรงพยาบาลการโทรแจ้งเหตุขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วที่ หมายเลข 1669 ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก โดยตามการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้จัดให้โทรแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือให้ถือ เป็นการปฐมพยาบาลอย่างหนึ่ง ลำดับต่อมาทำการดูแลช่วยเหลือที่เกิดเหตุเบื้องต้น จึงจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูง Cardiopulmonary resuscitation (CPR) อย่างเป็นขั้นตอนตามห่วงโซ่ การรอดชีวิตช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยองค์ความรู้ที่นำมาใช้เกิดจากการทบทวน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบจาก Reviewers จาก 39 ประเทศทั่วโลก กว่า 250 ท่าน จึงได้เกิดแนวปฏิบัติ ล่าสุดในปี ค.ศ. 2015 ของ American Heart Association (AHA) Guidelines Update for Cardiopulmonary Resuscitation (CPR ) and Emergency Cardiovascular Care (ECC) เมื่อผู้ช่วยเหลือมีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการดูแลรักษา พยาบาล ผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทำให้มีความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจในเข้าการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จนสามารถ ช่วยให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินเหล่านั้นให้รอดชีวิตและนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามี ชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/89
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พรทิพย์ จอกกระจาย.pdf706.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.