Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/772
Title: “นาค” ในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี Naga in Dvaravati Sculpture
Authors: จินดาวัฒนภูมิ, สุพิชฌาย์
Keywords: ศิลปะทวารวดี
ประติมากรรม
นาค
Issue Date: 12-Jul-2562
Abstract: ความเชื่อเรื่องนาค เป็นความเชื่อที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยที่มีวัฒนธรรม “น้ำ” เป็นสิ่งสำคัญหลักต่อการดำเนิน ชีวิตในอาชีพเกษตรกรรม นาคเป็นทั้งสัญลักษณ์ของน้ำ เป็นคำเรียกชื่อกลุ่มคน และพิทักษ์ดูแลพระพุทธศาสนา สัญลักษณ์ ของนาค เป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานในดินแดนอุษาอาคเนย์ เป็นวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับข้าว เป็นทั้งความเชื่อที่มีมาแต่เดิม และผสมผสานกับการรับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย การให้ความเคารพนับถือ “งู” หรือ “นาค”นั้นทั้งคนไทย ลาว กัมพูชา มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะเห็นได้จากลวดลายของงูบนภาชนะ ดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ลวดลายงูบนกลองมโหระทึก ลวดลายนาคที่ปรากฎบนผืนผ้า รวมถึงความเชื่อเรื่องเมือง บาดาลของนาคใต้พระธาตุหลวง และพระธาตุองค์ดำที่เวียงจันทน์ อาจกล่าวได้ว่าที่ไหนมีแม่น้ำ ที่นั้นย่อมมีตำนานความเชื่อ เรื่องนาค เช่น ความเชื่อเรื่องพินธโยนกวตินาค ธนะมูลนาค และชีวายนาค ผู้สร้างแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี และตำนาน ความเชื่อเรื่องการสร้างแผ่นดินกัมพุช ที่มีต้นตระกูลคือชาวนาค ที่มีผู้หญิงเป็นใหญ่ คือนางนาคลิวเย่ หรือนางนาคเมรา หรือโสมา รบพ่ายแพ้พราหมณ์หนุ่มโกณฑัญญะจากอินเดีย ลงเอยด้วยการแต่งงานกับนางนาค กลายเป็นต้นตระกูลของชาวกัมพุช จาก ตำนานดังกล่าวนี้เองเป็นการแสดงถึงความเชื่อเรื่องนาค ที่พัฒนามาปรากฎในงานศิลปะของผู้คนในดินแดนแถบนี้ ทวารวดี ดินแดนแห่งประตู เมืองท่าทางการค้า เป็นดินแดนแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาในช่วงพุทธ ศตวรรษที่ 11-16 ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะสมัยทวารวดีปรากฎอย่างเด่นชัดในลักษณะของการมีศิลปะร่วมกันบนแผ่นดินไทย เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายาน และมีการรับอิทธิพลของพราหมณ์ และผี เข้ามาผสมผสาน สร้างขึ้นเนื่องในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และอมราวดี ของอินเดีย ประติมากรรมประดับศาสนสถานที่พบในงานศิลปะสมัยทวารวดีที่ได้รับรูปแบบของความเชื่อนาคนั้น พบทั้งที่เป็นงานปูนปั้น ประดับศาสนสถาน ส่วนประกอบงานสถาปัตยกรรม และพระพุทธรูป ซึ่งงานดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ได้รับอิทธิพล จากอินเดีย ลังกา ผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น จนเป็นนาคในรูปแบบศิลปะแบบทวารวดี
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/772
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ประชุมวิชาการครั้งที่ 11_84.pdf745.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.