Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/741
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลลิตวสุภิญโญ, ศิริกันยา-
dc.contributor.authorคล้ายจันทร์พงษ์, หรรษา-
dc.contributor.authorฤทธิบุญไชย, วิศิษฐ์-
dc.date.accessioned2020-03-29T15:29:21Z-
dc.date.available2020-03-29T15:29:21Z-
dc.date.issued2562-07-12-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/741-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงาน คุณลักษณะงานและระดับความผูกพันใน องค์การ 2) ความผูกพันต่อองค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และปัจจัยคุณลักษณะงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การ และ 4) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคตะวันตก จำนวน 260 คน ค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 – 1.00 ความเที่ยงเท่ากับ 0.973 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่วิธี LSD ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 คน ใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับแรงจูงใจในการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก คือ ความรับผิดชอบ ความสำเร็จ ลักษณะงาน ระดับ คุณลักษณะงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก คือ ความหลากหลายทักษะ ความสำคัญของงาน ความเป็นอิสระ ระดับความ ผูกพันในองค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านบรรทัดฐาน ด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรม 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับสถิติ 0.05 คือ อายุ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ปัจจัยส่วนบุคคล ที่ไม่มีผลต่อความผูกพันขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ ระดับ การศึกษา อัตราเงินเดือน สถานภาพ และหน่วยงานที่สังกัด 3. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และคุณลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสาย สนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคตะวันตก คือ ผลสะท้อนของงาน ความสำคัญของงาน ความรับผิดชอบ สภาพ การปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 53 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก ประกอบด้วย 1) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ดี มีความสามัคคีและมีความผูกพันในองค์การ 2) ปัจจัยคุณลักษณะงาน คือ ความมีอิสระในงาน บุคลากรสามารถตัดสินใจและวางแผนการทำงานได้อย่างอิสระซึ่งจะส่งผล ให้การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพ เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและอยากทำงานกับองค์การ องค์การควรให้อิสระแก่บุคลากรในการ ปฏิบัติงานโดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามระเบียบ และข้อบังคับขององค์การ และ 3) ความผูกพันในองค์การ คือ ด้านทัศนคติ โดยผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกที่ดีต่อองค์การ เกิดความรักความผูกพัน อยากเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ องค์การจึงควร สร้างทัศนคติที่ดีให้กับบุคลากรขององค์การ เพื่อให้บุคลากรรู้สึกรักและหวงแหนในองค์การen_US
dc.subjectแรงจูงใจในการทำงานen_US
dc.subjectคุณลักษณะงานen_US
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคตะวันตก Guidelines for Development of Work Motivation Affecting Organizational Commitment of Supporting Staff of Western Rajabhat Universitiesen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ประชุมวิชาการครั้งที่ 11_53.pdf334.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.