Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/628
Title: | การศึกษาความเป็นพลเมืองขององค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที สู่การจัดการตนเอง |
Authors: | จันทร์ขำ, วริยา บัวเจริญ, หทัยชนก ผู้พิทักษ์กุล, จุฑารัตน์ |
Keywords: | ความเป็นพลเมือง การจัดการตนเอง ตำบลบางคนที |
Issue Date: | 18-Jul-2556 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การประเมินชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วนในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของความเป็นพลเมือง เพื่อวิเคราะห์ทุนและศักยภาพในการสะท้อนการจัด การตนเอง จากแหล่งข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสารได้แก่ เอกสารข้อมูลตำบล รายงานประจำปีของตำบล 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในครั้งนี้คือ ผู้บริหาร แกนนำจากภาคท้องถิ่น ภาคท้องที่ ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง วิทยากรชุมชน และ ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมหรือ เกี่ยวข้องสำคัญเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ จำนวน 50 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กระบวนการ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบเรื่องราว วิเคราะห์แบบตารางเปรียบเทียบ มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า 1) ความหมายของความเป็นพลเมืองของตำบลบางคนที ประกอบด้วย 1) “การมีส่วนร่วมร่วมกันคิด ร่วมกัน ตัดสินใจ ร่วมวางแผน" ผ่านผู้นำอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้นำคิด ผู้นำทำ เป็นตัวอย่าง โดยเฉพาะแกนนำระดับหมู่บ้าน ตำบลรวมตัวกันทำเป็นตัวอย่าง และชักชวนให้ทุกคนร่วมกันทำด้วยจิตสำนึกของการเห็นประโยชน์ร่วมของทุกฝ่ายที่จะเกิดขึ้น ต่อตำบล 2) "ผู้นำทำเป็นแบบอย่าง" ผลักดันให้ทุกภาคส่วนเกิดการทำงานร่วมกัน พร้อมเชื่อในความคิดว่า "ผู้นำคิด ผู้นำ ทำ" เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการทำงาน ผู้นำต้องลงมือปฏิบัติจริง ทำเป็นแบบอย่าง เสริมสร้างความเข้มแข็งของ กิจกรรมต่างๆ ผ่านการนำเสนอข้อมูลแก่ผู้นำทุกชุมชน ใช้พลัง "จิตอาสา" ในการก่อพลังการรวมตัว รวมกลุ่มของผู้นำ สู่การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนทีร่วมกัน 3) การสร้างกลไกสื่อสารในการขับเคลื่อน สร้างความเข้าใจ และ สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อการดำเนินงานร่วมกันขององค์กร ภาคี ต่างๆ ทั้งใน และนอกพื้นที่ 2) ผลการวิเคราะห์ทุนและศักยภาพการจัดการตนเองของตำบลบางคนทีประกอบด้วย 7 ระบบ ประกอบด้วย 1) ระบบการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่น 2) ระบบสุขภาพชุมชนและจิตอาสา 3) ระบบเศรษฐกิจชุมชน 4) ระบบการศึกษา เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 5) ระบบองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน 6) ระบบเกษตรเพื่อการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น 7) ระบบภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นโดยปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จของการเป็นพลเมืองคือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที การทำงานร่วมกับภาคท้องถิ่นและภาคท้องที่ การวางฐานเรื่องความเป็นเจ้าของบนวิถีของความพอเพียง |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/628 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20190215110013.pdf | 209.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.