Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/593
Title: | สมบัติการเปล่งแสงของแก้ว Li2O3:Gd2O3:B2O3:Sm2O3 Photoluminescence of Li2O3:Gd2O3:B2O3:Sm2O3 Glasses |
Authors: | สอาดสิน, วราวุธ บุญอินทร์, กิติพันธ์ แก้วขาว, จักรพงษ์ |
Keywords: | ลิเธียม-แกโดลิเนียม, สเปกตรัมการเปล่งแสง, LGBO, แก้ว, ซาแมเรียม |
Issue Date: | 30-May-2557 |
Abstract: | แก้วลิเธียม-แกโดลิเนียม บอเรต ซึ่งเจือด้วยซาแมเรียม [60Li2O:10Gd2O3:(30-x) B2O3:xSm2O3] (x = 0.05, 0.10, 0.50, 1.00, และ 1.50 โมลเปอร์เซ็นต์) (LGBO:Sm3+) ได้ถูกเตรียมโดยวิธีหลอม แล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว ใต้ความดัน บรรยากาศ ทำการวัดค่าคุณสมบัติบางอย่างทางกายภาพและทางแสงภายในช่วงความยาวคลื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงค่าการ เปล่งแสงของแก้ว LGBO:Sm3+ แล้วอภิปราย ผลการทดลองพบว่า ค่าความหนาแน่นของแก้วลดลงจนถึง 0.10 โมลเปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากจุดนั้น ในขณะที่ปริมาตรเชิงโมลของแก้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ Sm2O3 สเปกตรัม การดูดกลืนพบว่า มียอดกราฟที่เด่นชัดอยู่ 2 ตำแหน่ง ในช่วง UV-VIS และ 6 ตำแหน่งในช่วง NIR ซึ่งบ่งชี้ถึง Sm3+ ใน โครงสร้างแก้ว ความสูงของยอดกราฟในสเปรกตรัมการดูดกลืนเพิ่มขึ้นตามสารเจือเช่นกัน ส่วนในสเปกตรัมการกระตุ้น มียอด กราฟที่ชัดเจนอยู่ 7 ตำแหน่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเลื่อนชั้นพลังงานจากสถานะพื้น 6H5/2 ไปยังสถานะที่ถูกกระตุ้นระดับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้ทำการวัดสเปกตรัมการเปล่งแสงที่มีความยาวคลื่น 404 นาโนเมตร และพบ concentration quenching effect (CQE) ที่ Sm3+ 1.00 โมลเปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าไลฟ์ไทม์มีแนวโน้มลดลงตามความเข้มข้นของ Sm2O3 สรุปได้ว่า แก้ว LGBO:Sm3+ ที่เจือด้วย Sm3+ 1.00 โมลเปอร์เซ็นต์ ให้คุณสมบัติการเปล่งแสงสูงสุด |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/593 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20190214092518.pdf | 358.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.