Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/459
Title: | แนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญานยายะ The concept and theory of Empiricism in Nyāya |
Authors: | วงษ์สอาด, สรวิชญ์ |
Keywords: | แนวคิด ทฤษฎีประจักษประมาณ ปรัชญานยายะ |
Issue Date: | 28-Sep-2560 |
Abstract: | จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญาปรัชญานยายะ พบว่า ความรู้ทุกประเภท คือ เป็นความจริง และมีข้อเท็จจริงปรากฏ 2 ทาง คือ ทางประสาทสัมผัสหรืออายตนะและทางอารมณ์หรือวัตถุที่ถูกรู้ นยายะ เห็นว่า ความรู้ ย่อมเป็นสิ่งที่เปิดเผยทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ 2 ชนิด คือ “ปรมา” ความรู้ที่มีเหตุผล และ “อปรมา” ความรู้ไม่มีเหตุผล นยายะ มองว่า ความรู้เป็นสภาวะกลาง ๆ ไม่จริงและไม่เท็จ คือ รู้ถูกกับรู้ผิดที่มีหน้าที่เปิดเผย 3 อย่าง คือ เปิดเผยตัวผู้รู้ เปิดเผยสิ่งที่รู้ และเปิดเผยตัวความรู้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดความรู้ที่ถูกต้อง 4 ประการ คือ ประจักษประมาณ อนุมาน อุปมาน ศัพทะ ความรู้ทั้ง 4 นี้ ยังแบ่งออกเป็น สามัญลักษณะ ชญาณลักษณะ โยคชะ ซึ่งเป็นบ่อเกิด แนวคิดและทฤษฎีทางประจักษประมาณของปรัชญา นยายะ และมีการรับรองว่า ความรู้ที่แท้จริง คือ ความรู้ที่ได้จากการสัมผัสระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกที่เกี่ยวกับ สิ่งที่เรารับรู้ ที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัสโดยตรง เป็นความรู้ที่เปิดเผยทั้ง “ผู้รู้” และ “สิ่งที่ถูกรู้” เป็นแหล่งที่ให้ความรู้อันถูกต้อง จากความจริง ซึ่งเป็นความรู้ที่เขาสื่อให้เกิดความเข้าใจในความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/459 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
99.สรวิชญ์ วงษ์สอาด.pdf | 625.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.