Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฤทธิบุญไชย, วิศิษฐ์-
dc.date.accessioned2018-12-11T07:58:09Z-
dc.date.available2018-12-11T07:58:09Z-
dc.date.issued2560-09-28-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/402-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดจากบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัย 2) เพื่อค้นหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัย การวิจัยในครั้งนี้จะใช้เทคนิคการ ทำวิจัยแบบผสมผสาน โดยผสานการทำวิจัยเชิงปริมาณ ร่วมกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรจากการทำวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยจำนวน 18,519 ราย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 ราย ใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก จาก มหาวิทยาลัยของรัฐ 16 แห่ง และของเอกชนจำนวน 8 แห่ง สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการทำคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์บุคลากร สายวิชาการในมหาวิทยาลัยรัฐบาล 2 แห่ง และเอกชน 2 แห่ง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าสหสัมพันธ์จากสมการเชิงโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สาเหตุของความขัดแย้ง ประกอบไปด้วย 1) ด้านการสื่อสารของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัย พบว่าส่วนใหญ่ เกิดจากความเข้าใจในความหมายของข้อมูลที่ได้รับมาปฏิบัติไม่ตรงกัน การส่งและรับข้อมูลไม่ถูกต้อง และการรับข้อมูลไม่ตรงกัน ในเรื่องเดียวกัน 2) ด้านโครงสร้างองค์การของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัย พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการมอบอำนาจ หน้าที่ที่คลุมเครือไม่ชัดเจน การแบ่งภาระงานที่ไม่เป็นธรรม และการแบ่งงานที่ซ้ำซ้อนกัน และ 3) ด้านความสัมพันธ์ของบุคลากร สายวิชาการในมหาวิทยาลัย พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากบุคลากรมีอุดมการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน บุคลากรมีค่านิยมในการทำงาน แตกต่างกัน และบุคลากรมีความชำนาญและถนัดที่แตกต่างกัน 2. แนวทางการจัดการความขัดแย้ง มาจาก สาเหตุความขัดแย้งจากบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยเกิดจาก โครงสร้างขององค์การ (x = 0.71) ในส่วนการป้องกันความขัดแย้งเกิดจากการป้องกันความขัดแย้งโดยการทำงานสมานฉันท์ (x = 0.72) และการแก้ไขความขัดแย้งได้แก่การแก้ไขความขัดแย้ง โดยการประนีประนอม (x = 0.61) ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า แนวทางการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากการบริหารหลักสูตรในมหาวิทยาลัยระหว่าง อาจารย์กับผู้บังคับบัญชา ผลการเก็บข้อมูลพบว่าทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนจะใช้แนวทางที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ อาจารย์ จะยึดตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นหลัก เพียงแต่หากเกิดข้อขัดแย้งก็จะเน้นการเข้าไปเจรจา ชี้แจง หาเหตุผลร่วม ปรับทัศนคติ ให้เข้าหากัน แนวทางการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากการบริหารหลักสูตรในมหาวิทยาลัย ระหว่างอาจารย์กับเพื่อนร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่จะใช้หลักของการเจรจาพูดคุย ปรับความเข้าใจกัน เน้นบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ยึดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างกัน และแนวทางการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากการ บริหารหลักสูตรในมหาวิทยาลัย ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ ผลการวิจัยพบว่าทั้งอาจารย์ในภาครัฐและเอกชนจะเน้นเรื่องของ การหาข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่เริ่มเรียนมีการออกกฎระเบียบการอยู่ร่วมกัน และเมื่อมีปัญหาจะมีไตร่สวนหาถึงสาเหตุ มีการพูดคุย ปรับทัศนคติเข้าหากัน สร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นมิตร พยายามให้ศิษย์ได้เรียนรู้จากประเด็นของความขัดแย้งen_US
dc.subjectการจัดการความขัดแย้ง บุคลากรสายวิชาการen_US
dc.titleแนวทางการจัดการความขัดแย้งจากบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัย1 Conflict Management between Academic Staffs in Higher Educationen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
72.วิศิษฐ ฤทธิบุญไชย1 และคณะ.pdf697.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.