Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/398
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวงศ์อินทร์อยู่, กนกพัชร-
dc.contributor.authorสุขเจริญพงษ์, สมพล-
dc.contributor.authorดิฐสถาพรเจริญ, ศานติ-
dc.date.accessioned2018-12-11T07:53:00Z-
dc.date.available2018-12-11T07:53:00Z-
dc.date.issued2560-09-28-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/398-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาสวยงามของประเทศไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพันธุ์ไม้น้ำ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายพาณิชย์) สถานทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บริษัทเฉี่ยนหวู่ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย นักวิชาการประมง เกษตรกร ผู้รวบรวมหรือพ่อค้าคนกลาง บริษัทส่งออก และนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษา และนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทย มีจุดแข็งที่สำคัญด้านการผลิตที่สามารถพัฒนาปลาสวยงามที่มีคุณภาพ และมีอัตลักษณ์ความโดดเด่นสวยงาม ความสามารถ ของเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ส่งผลทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ จุดอ่อน ด้านขาดความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ความยุ่งยากซับซ้อนของกระบวนการ ภาครัฐ เกษตรกรขาดทักษะด้านการติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษ ส่วนปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมปลาสวยงาม เช่น การเติบโตของตลาด และการได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจากทั่วโลก ในขณะเดียวกันปัจจัยที่กีดขวางในด้านสภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ตกต่ำทำให้อำนาจซื้อผู้บริโภคลดลง การกีดกั้นด้านกฎระเบียบ กฎหมายระหว่างประเทศ และประเด็นที่สำคัญศักยภาพของ ประเทศคู่แข่งขันที่มีความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนและโครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดีกว่า เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น จากการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ได้ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิง แก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ เพื่อใช้เป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ปลาสวยงามของไทยก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.subjectการพัฒนา อุตสาหกรรมปลาสวยงาม ไทยแลนด์ 4.0 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาสวยงามไทยก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน The Development of Thai Ornamental Fish industry to Thailand 4.0 Under The ASEAN Economic Community Frameworken_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.