Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/366
Title: | การวิเคราะห์อัตลักษณ์ในคำขวัญประจำจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก: สื่อแสดงอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน |
Authors: | ยอดแก้ว, แพรภัทร |
Keywords: | คำขวัญประจำจังหวัด, ภูมิภาคตะวันตก, อัตลักษณ์ท้องถิ่น, ประชาคมอาเซียน |
Issue Date: | 30-Mar-2558 |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา มีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตกที่ปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัด 2) เพื่อศึกษา แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียนโดยการส่งเสริมอัตลักษณ์ของท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตก ศึกษา ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยศึกษาเฉพาะคำขวัญประจำจังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ในภูมิภาคตะวันตก ผลจากการศึกษาพบว่า 1. จังหวัดนครปฐมมีคำขวัญที่สื่อแสดงอัตลักษณ์มากที่สุดและมีกลุ่มอัตลักษณ์มากที่สุด โดยในภาพรวมกลุ่ม อัตลักษณ์ที่มีปรากฏในคำขวัญของจังหวัดในภูมิภาคตะวันตกมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาหาร และสินค้าประจำถิ่น ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์และพุทธศาสนา 2. แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียนโดยการส่งเสริมอัตลักษณ์ของท้องถิ่นในภูมิภาค ตะวันตกมี 4 แนวทาง คือ 1) การบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่นกับเป้าหมายของประชาคมอาเซียน โดยบูรณาการกับเป้าหมาย ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง 2) การส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นให้มีความมั่นคง และยั่งยืน โดยจัดทำแผนพัฒนาในทุกระดับทางสังคม 3) การวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนคำขวัญประจำจังหวัดให้สอดคล้อง กับอัตลักษณ์ปัจจุบันของท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การรับรู้อัตลักษณ์ท้องถิ่นและการพัฒนาท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์ของตน และ 4) การส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นควบคู่กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/366 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
แพรภัทร ยอดแก้ว.pdf | 792.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.