Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/247
Title: การศึกษากิจกรรมต้านจุลินทรีย์และปริมาณฟีนอลิทั้งหมดของฟลาวร์และเปลือก จากหัวเท้ายายม้อม The study of antimicrobial activity and total phenolic contents of arrowroot (Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze.) flours and peels
Authors: วัชรเทวินทร์กุล, ญาณิกา
Keywords: เท้ายายม้อม ฟลาวร์ ต้านจุลินทรีย์ ฟีนอลิก
Issue Date: 28-Sep-2560
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของฟลาวร์และเปลือกจากหัวเท้ายายม้อม โดยใช้น้ําใน กระบวนการสกัด พบว่าสารสกัดจากฟลาวร์และเปลือกมีปริมาณฟีนอกลิกทั้งหมด 2.70 ± 0.07 และ 8.11 ± 0.30 มิลลิกรัม สมมูลของกรดแกลลิค ต่อ 1 กรัมของตัวอย่าง ตามลําดับ การศึกษากิจกรรมต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดโดยการนับจํนวนจุลินทรีย์ ในจานเลี้ยงเชื้อ (plate counts) พบว่าปริมาณฟีนอกลิกทั้งหมดในสารสกัดมีความสัมพันธุ์กับการแสดงกิจกรรมยับยั้งการเจริญ ของจุลินทรีย์ สารสกัดจากเปลือกสามารถยับยั้งการเจริญบางส่วน (partial inhibition) ของจุลินทรีย์ทดสอบทุกชนิดยกเว้น Aspergilus flavus TISTR 3637 และ Pseudomonas fluorescens TISTR 904 ส่วนสารสกัดจากฟลาวร์มีกิจกรรมยับยั้ง การเจริญของจุลิทรีย์ทดสอบเพียง 4 ชนิด คือ Bacillus Subtilis, Enterococcus faecalis TISTR 379, Salmonella sp. และ Candida lipolytica โดยยีสต์ C. lipolytica เป็นสายพันธุ์ที่มีความไวต่อการตอบสนองสารสกัดทั้ง 2 ชนิดมากที่สุด มีร้อยละการยับยั้งการเจริญต่อสารสกัดจากเปลือกและสารสกัดจากฟลาวร์คิดเป็น 99.77 และ 54.67 ตามลําดับ ในขณะที่แบคทีเรีย แกรมบวกมีความไวต่อการสอบสนองของสารสกัดมากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากฟลาวร์ และจากเปลือกของหัวเท้ายายม้อม มีศักยภาพที่จะนําไปใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ได้
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/247
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4.ญาณิกา วัชรเทวินทร์กุล.pdf604.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.