Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแก้วขาว, จักรพงษ์-
dc.contributor.authorแก้วนวม, เอกพล-
dc.date.accessioned2018-12-07T04:22:36Z-
dc.date.available2018-12-07T04:22:36Z-
dc.date.issued2559-03-31-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/181-
dc.description.abstractดินเหนียวทุ่งสมถะ ดินเหนียวทุ่งอรัญญิก และดินเหนียวทุ่งหลวง ในจังหวัดราชบุรี ถูกนำมาศึกษาองค์ประกอบของ ธาตุ และอิทธิพลของความร้อนที่มีผลต่อสัดส่วนองค์ประกอบของธาตุในดิน ด้วยเทคนิคการเกิดฟลูออเรสเซนส์ด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray fluorescence) ทั้งก่อนและหลังจากการนำดินไปอบโดยใช้อุณหภูมิในช่วง 600-1200 องศาเซลเซียส จากการศึกษา พบว่า ดินเหนียวจากทั้ง 3 แหล่ง มี SiO2 Fe2O3 และ Al2O3 เป็นส่วนประกอบอยู่มากที่สุดเป็น 3 อันดับแรก ตามลำดับ ดิน เหนียวทุ่งสมถะและดินเหนียวทุ่งอรัญญิก มีองค์ประกอบทางเคมีโดยรวม และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนองค์ประกอบ ทางเคมีเนื่องจากความร้อนที่คล้ายกัน ดินทั้งสองแหล่งนี้สามารถถูกนำไปเผาเพื่อผลิตเป็นเครื่องปั้นดินเผา โดยควบคุมกระบวนการ และอุณหภูมิการเผาได้ง่ายกว่าดินเหนียวทุ่งหลวง อย่างไรก็ตาม ดินเหนียวทุ่งหลวงเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพ ที่สามารถนำไปใช้ ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแกร่งทนทานสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินเหนียวทุ่งสมถะและดินเหนียวทุ่งอรัญญิก สำหรับ การพัฒนาความแข็งแกร่งให้กับเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากดินทุ่งสมถะและดินทุ่งอรัญญิกนั้น สามารถทำได้โดยทดลองลด อุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการเผามาอยู่ที่ 1000 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ พบว่า การอบทำให้เนื้อดินเหนียวจากแหล่งดินทั้ง 3 แหล่งจับตัวกันเป็นเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้สีของดินเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มen_US
dc.subjectดินเหนียวen_US
dc.subjectเครื่องปั้นดินเผาen_US
dc.subjectองค์ประกอบของธาตุen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบส่วนประกอบในหดินเหนียวที่ใช้เป็นวัตถุดิบการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ในจังหวัดราชบุรีen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
จักรพงษ์ แก้วขาว.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.