Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/129
Title: แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Authors: มูลมิตร์, พิมพ์ชนก
ไม้ตรา, ศศิประภา
ทองดอนเกรื่อง, ชฎาพร
ขันทอง, มนตรี
Keywords: การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
บ้านไผ่หูช้าง
Issue Date: 29-Mar-2561
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนบ้านไผ่หูช้าง 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาท่องเที่ยว ชุมชนบ้านไผ่หูช้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ 3) เพื่อหาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านไผ่หูช้าง ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสังเกตการณ์ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบการร้านค้า โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามประเด็น และนำผลที่ได้มาเสนอในรูปแบบ ความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนบ้านไผ่หูช้างเป็นชุมชนชาวไทยทรงดำที่อพยพจากเพชรบุรี แต่เดิมอาชีพส่วนใหญ่ ทำนาปีนาปรัง ปัจจุบันเปลี่ยนไปทำบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และปลูกพืชผักปลอดสารพิษ รวมถึงการทอผ้า ซึ่งการทอผ้าของชาว ไทยทรงดำมีลวดลายที่สวยงามและมีความแปลกใหม่ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการนับถือดวง วิญญาณ โดยการนับถือผี หรือ ดวงวิญญาณเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การทำพิธีเสนเรือน การเลี้ยงผีเพื่อการเซ่นไหว้วิญญาณของ บรรพบุรุษภายในครอบครัว เป็นต้น รวมถึงงานประเพณีประจำปี อาทิ การรำแคน 2) ชุมชนไผ่หูช้างมีปัจจัยทางการท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพทางด้านสิ่งดึงดูดใจการท่องท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยทรงดำ คนในชุมชนมีความสามัคคีในการร่วมมือจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีส่วนร่วมในการวางแผน แสดงความคิดเห็น และติดตามผลของ การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน และมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มี ศักยภาพพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านไผ่หูช้าง คือ 1) การจัดตั้งกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนในการบริหารจัดการรายได้เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนากิจกรรมการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว 3) การพัฒนาการสื่อความหมายทางการ ท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านและผู้มาเยือน 4) การกำหนดกติกาที่เห็นร่วมจากชุมชน สำหรับ การจัดการท่องเที่ยวที่ชัดเจน 5) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการท่องเที่ยวกับองค์กรภายนอก
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/129
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พิมพ์ชนก มูลมิตร์.pdf378.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.