Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1193
Title: Analysis of policy holder discontinued life Insurance policy “BAAC Taweeluk 99” and the proposed solution
การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99”
Authors: Trakulmututa, Auychai
อวยชัย ตระกูลมุทุตา
Keywords: Life insurance
Marketing Mix (7Ps)
Service
Consumer Behavior
Renew
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: มานิต รัตนสุวรรณ, สมฤดี ศรีจรรยา. (2554). ยุทธศาสตร์การตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : บริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด.
ประดิษฐ์เพชร แซ่ตั้ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผณินทร เกษตรตระการ, ประสพชัย พสุนนท์. (2560). การวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยของการไม่ซื้อประกันชีวิต กรณีศึกษา ธนาคารกรุงไทยจังหวัดราชบุรี. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร
วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย, สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ, แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ ส่งผลต่อการยอมรับบริษัทประกันชีวิตของคนกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11 (5), 16-23.
วนัชท์ วงศ์วิรัชจิต. (2558). การศึกษาความพึงพอใจในการทำประกันชีวิตของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ. (2562). การจัดการตราสินค้าและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์, MBA Online, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปี การศึกษา 2560
กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น ย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
จิตตินนท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ราชบัณฑิตสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2562). สถานการณ์สูงวัยกับผลิต ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562, จาก https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2019/06/aBRIDGEd_2019_013.pdf
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf
Abstract: The study of cause of policy holder discontinued “BAAC Taweeluk 99” Life insurance policy had purpose to analyze root cause of policy holder discontinued life insurance policy. The sample size was 420 policy holders of “BAAC Taweeluk 99”. The survey was done base on primary data emphasizing on quantitative analysis method. The data was collected by distributing structured questionnaires to 420 samples and in-depth interview for 18 financial heads (Selected for 3 of each region). The measurement of data analysis was base on statistic approach such as frequency and percentage. In addition, secondary data were extracted from relevant sources to supplement the data obtained from the survey. The result of this study reveals the highest three leading cause of discontinued life insurance policy were “No Reminding Payment Date and Amount”, “Switching to Substitute Product” and “Misunderstanding of Agree return”, which were accounted for 38%, 29% and 17% respectively. The solution of above mentioned causes could be cleansing client’s information to be more accurate and up to date. This was would enhance customers simultaneously receive BAAC information or news. Additionally, regular training to the branch officers would solve the issue as well since they are the frontline offices to provide the information.
การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหากรณีลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์ฯ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ ลูกค้าที่ฝากกรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99” โดยเป็น การศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อหัวหน้าการเงิน ประจำสาขา ภูมิภาคละ 3 คน รวมทั้งหมด 18 คน ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) จากการศึกษาข้อมูลโดยใช้เครื่องมือสถิติ เรื่อง การแจกแจงความถี่(Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) และจากการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ประกอบการวิเคราะห์พบว่า สาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์ฯ 3 อันดับแรก คือ จดจำวันและจำนวนเงินที่ต้องชำระไม่ได้ มีผลิตภัณฑ์ลักษณะใกล้เคียงกันเข้ามาทดแทน และผลตอบแทนที่ ได้รับไม่ตรงกับความเข้าใจ โดยคิดเป็นร้อยละ 38, 29 และ 17 ตามลำดับ แนวทางการแก้ปัญหาเป็นการปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้ลูกค้าได้รับข่าวสารแจ้งเตือน จากธนาคาร และการจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานประจำสาขา ซึ่งเป็นผู้อธิบายเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ลูกค้า
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1193
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.