Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/116
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จินดาวัฒนภูมิ, สุพิชฌาย์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-06T08:38:55Z | - |
dc.date.available | 2018-12-06T08:38:55Z | - |
dc.date.issued | 2561-03-29 | - |
dc.identifier.uri | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/116 | - |
dc.description.abstract | วัฒนธรรมการกินหมากของไทย มีหลักฐานการกินหมากมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลักฐานเอกสารของจีนได้กล่าวถึง กลุ่มชนฟันดำซึ่งหมายถึงคนที่กินหมาก เมื่อประมาณ 200 ปี ก่อน ว่ากลุ่มคนฟันดำนี้อยู่ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งสันนิษฐานว่า หมายถึงคนไทย และลาว ดังที่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัย หลักที่ 1 จารึกว่า “ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ ลูกมัน สิ้น” ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นความสำคัญของการปลูกหมากพลู วัฒนธรรมการกินหมากจึงมีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย และสืบต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ดังที่ปรากฎในงานวรรณกรรมต่าง ๆ ของไทย เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน และอิเหนา รวมทั้งคนไทยในสมัยก่อนมีค่านิยมที่ว่า คนที่มีฟันดำคือคนสวย คนงาม ดังนั้นคนไทยในสมัยก่อนจึงมีหมากพลู พกติดตัว จีบหมากจีบพลูใส่ซอง ใส่ถุงติดตัวไปไหนมาไหนด้วยเสมอ เพราะการเคี้ยวหมากทำให้ฟันดำ ส่วนหน้าที่การจีบ หมากพลู ก็เป็นของหญิงไทย มีค่านิยมเกี่ยวกับหญิงไทยสมัยก่อนว่า การเจียนหมากเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ฝีมือมาก ดังนั้น สตรีที่เจียนหมากได้สวยจึงเป็นกุลสตรีที่มีค่า และสตรีที่มีค่าและสมบูรณ์แบบจะต้องมีความสามารถด้านการครัว คือ ปอกมะปราง เป็นริ้วได้ ละเลงขนมเบื้องเป็น ปั้นขนมจีบได้ และจีบพลูเป็น นอกจากนี้หมากพลูในสมัยโบราณยังเป็นสัญลักษณ์แทนความ เคารพนับถือ และมิตรภาพ จะเห็นได้จากภาพวาดตามฝาผนังวัดในสมัยโบราณ ที่มีภาพของผู้คนนั่งล้อมวงกินหมากพลูกัน ในส่วนของพิธีกรรม หมากพลูจะใช้เป็นส่วนประกอบในการประกอบพิธีสำคัญ เช่น ไหว้ครูและพิธีบายศรีสู่ขวัญ ทำขวัญเด็ก พิธีบรรพาชาอุปสมบท พิธีหมั้น พิธีปลงศพ ดังนั้นความสำคัญของหมากพลูจึงรวมไปถึงอุปกรณ์ในการเก็บหรือใส่หมาก เช่น จะมีเครื่องใส่หมากพลูรวมอยู่ในเครื่องบรมราชาภิเษกสำหรับกษัตริย์ หากพระมหากษัตริย์เสด็จไป ณ ที่ใด ก็จะต้องมีผู้อัญเชิญ พานพระศรีสำหรับใส่หมากพลูติดตามไปด้วย เชี่ยนหมากยังแสดงถึงยศถาบรรดาศักดิ์ในสมัยก่อน สำหรับบรรดาเจ้านายไทย ในสมัยก่อน ก็จะมีบ่าวคอยถือเชี่ยนหมากใส่หมากพลูติดตามไปด้วย ดังนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่า หมากพลูเป็นวัฒนธรรมหนึ่ง ของสังคมไทยมาแต่ครั้งโบราณและเป็นที่นิยมทั้งชนชั้นสูงจนถึงประชาชนคนทั่วไป | en_US |
dc.subject | หมากพลู | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรม | en_US |
dc.title | วัฒนธรรมการกินหมากในสังคมไทยสมัยก่อน | en_US |
Appears in Collections: | Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ.pdf | 835.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.