Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/994
Title: The efficiency of the chaiyaphum rajabhat university wastewater with construction wetland use various aquatic plants
Authors: Prathumkun, Mesa
Housesuwor, Natthakan
Mahamit, Warawut
Pattra, Sakchai
เมษา ประทุมกุล
ณัฐกานต์ เฮ้าสุวอ
วราวุฒิ มหามิตร
ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา
Keywords: aquatic plant
construction wetland
wastewater treatment
efficiency
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิแบบบึงประดิษฐ์ ด้วยพืชน้ำชนิดต่าง ๆ
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). น้ำเสียชุมชนและระบบ บำบัดน้ำเสีย. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2562.จาก http://www.pcd.go.th/
กรมสงเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอม. (2557). ระบบบึงประดิษฐ์. สวนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ด้า น น้ำ . ศูน ย์วิจัย แ ล ะ ฝึก อ บ ร ม ด้า น สิ่ง แ ว ด ล อ ม . สืบ ค้น เมื่อ 1 8 สิง ห า ค ม 2 5 6 2 .จ า ก https://www.deqp.go.th/home
กลอยกาญจน์ เก่าเนตรสุวรรณ. (2558). การบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยใช้บึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลใต้ผิวดิน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สหสาขาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม บัณฑิตมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ลักษมณ ทองอินทร์. (2557). ประสิทธิภาพของธูปฤาษีและกกกลมในการบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยพื้นที่ชุมบึง ประดิษฐ์ไหลผ่านลำต้น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Abstract: The objective of this experimental research (batch) was to study the efficiency of the wastewater treatment of Chaiyaphum rajabhat university using constructed wetlands systems by using 3 types of water plants, which are Cattail Tree, Canna plants and Papyrus. Experiment 1, with a proportion of 0.06 square meters in experimental area and 2 plants of Cattail Tree / 42 liters of waste water,. Experimental 2 using 2 plants of Canna trees / 42 liters of waste water, and experiment 3 was set 3 plants of Papyrus / 42 liters of waste water. Water samples were collected for water quality analysis including COD, temperature, turbidity and acidity - will be collected after 0, 5, 10, 15, 25 and 30 days, respectively. The water will be collected in time. 16.00 hrs., every time in every experimental unit. Each of the experimental units randomly sampled water from all 3 equal quantities, mixed together into a total of 3 liters and then put in a bottle to collect water samples. The quantity analysis of 4 parameters, COD, pH, temperature and turbidity. Research location Laboratory Chaiyaphum rajabhat university. Duration of research used from July 2019 to October 2019. The results showed that all 3 types of water plants in the constructed wetlands systems. It was found that COD and pH tended to decrease with period of treatment or with positive treatment efficiency. The COD removal of the papyrus was found to be better than Cattail tree and Canna plants. However, the turbidity removal of the Canna plants and Cattails trees tends to decrease with the duration of treatment but papyrus tends to increase depending on the duration of treatment. Therefore, the treatment efficiency the turbidity of the Cattail and Canna trees were more effective in treating the turbidity than the papyrus
การวิจัยเชิงทดลองแบบกะ (Batch) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย ราชภัฏชัยภูมิแบบบึงประดิษฐ์ด้วยพืชน้ำ3 ชนิด คือ ธูปฤษี พุทธรักษา และต้นกก มีการออกแบบชุดจำลองการบำบัดน้ำเสีย ดังนี้ ใช้พื้นที่ในการทดลองทั้ง 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1 มีสัดส่วนในพื้นที่การทดลอง 0.06 ตารางเมตร และ นำพืชชนิดต้นธูปฤาษีมาปลูกจำนวน 2 ต้น/น้ำเสีย 42 ลิตร ชุดการทดลองที่ 2 มีสัดส่วนในพื้นที่การทดลอง 0.06 ตารางเมตร และนำพืชชนิดต้นพุทธรักษามาปลูกจำนวน 2 ต้น/น้ำเสีย 42 ลิตร และชุดการทดลองที่ 3 มีสัดส่วนในพื้นที่การทดลอง 0.06 ตารางเมตร และนำพืชชนิดต้นกกมาปลูกจำนวน 3 ต้น/น้ำเสีย 42 ลิตร การเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ได้แก่ ซีโอดี อุณหภูมิ ค่าความขุ่น และความเป็นกรด – ด่าง จะเก็บหลังจากทำการทดลองครบ วันที่ 0, 5, 10, 15 25 และ 30 วัน ตามลำดับ โดยจะเก็บน้ำในเวลา 16.00 น. ทุกครั้ง ในทุกหน่วยทดลอง โดยแต่ละหน่วยทดลองสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำจาก ทั้ง 3 ซ้ำ ปริมาณเท่า ๆ กัน นำมาผสมรวมกันเป็นจำนวน 3 ลิตร แล้วบรรจุใส่ขวดเก็บตัวอย่างน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 4 พารามิเตอร์ ได้แก่ ค่า COD, pH, อุณหภูมิ และค่าความขุ่น สถานที่ทำการศึกษาวิจัย ห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ชัยภูมิ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ระยะเวลาทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ถึงเดือนตุลาคม 2562 ผลการวิจัยพบว่า พืชน้ำทั้ง 3 ชนิดในระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ มีประสิทธิภาพในการบำบัด COD โดย พบว่า COD และ pH มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาของการบำบัดหรือมีประสิทธิภาพการบำบัดเป็นบวก ทั้งนี้ พบค่า ประสิทธิภาพการบำบัด COD ของต้นกกมีประสิทธิบำบัดได้ดีกว่า ต้นธูปฤาษีและต้นพุทธรักษาอย่างไรก็ตาม พบว่า ความขุ่น ของต้นพุทธรักษาและต้นธูปฤาษี มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาของการบำบัด แต่ต้นกกมีแนวโน้มสูงขึ้นตามระยะเวลาของ การบำบัด ดังนั้นประสิทธิภาพการบำบัด ความขุ่นของต้นธูปฤาษีและต้นพุทธรักษามีประสิทธิบำบัดความขุ่นได้ดีกว่าต้นกก
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/994
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.