Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/950
Title: Plant diversity and Local knowledge to Useful in to Useful in Herbal Patao River ChaiyaPhum Province
ความหลากหลายของพรรณพืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรในพื้นที่ ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Authors: Mahamit, Warawut
Nilkron, Paranee
Sukul, Kantharod
วราวุฒิ มหามิตร
ภารณี นิลกรณ์
คันธรส สุขกุล
Keywords: herbal medicine
local knowledge
Plant diversity
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสารานุกรมไทย. (2553).ภูมิ ปัญญาไทย เล่มที่ 23. กรุงเทพฯ . ด่านสุทธาการพิมพ์
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(2555).ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้.คณะเภสัช ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.จังหวัดอุบลราชธานี
สุวิทย์ วรรณศรี และประจักษ์ บัวพันธ์. (2556). ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรบริเวณ พื้นที่ภูแผงม้าอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. [รายงานวิจัยฉบับสมบูณ์]. สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ประมุข ศรีชัยวงษ์ และสุรินทร์ ภูสิงห์.(2555). ความหลากหลายทางชีวภาพของผักพื้นบ้านในเขตต้นน้ำชีและลำน้ำสาขา จังหวัดชัยภูมิ. เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.).
ประยูร วงศ์จันทรา. (2553). วิทยาการสิ่งแวดล้อม. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งทิวา กองสอน. (2551). ความหลากชนิดของพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ของชุมชน : กรณีศึกษา ป่าชุมชนโคกหิน ลาดอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เลอศักดิ์ ประจวบอารีย์. (2551). สมุนไพรพื้นบ้านของชนเผ่ากะหร่าง บ้านโป่งลึก อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. [รายงานวิจัยฉบับสมบูณ์]. สาขาวิชาเภสัชเวท มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Abstract: Local knowledge on valuable biodiversity Especially local knowledge on the use of medicinal plants along the waterfront or in areas with plants near Pathao River Which is used as both food and medicine according to the way of life of Thai people since the past Nowadays, wisdom has disappeared with time. The objective of this research is to explore the diversity of plant species. And local knowledge, utilization of plants in herbal medicine In the Pathao River area, Chaiyaphum Province The main population of the research consists of sages, villagers or herbalists who are Mr.Chaiwat Wongchoo and Thai Ban Researcher of 9 people and 30 young people participated in the activity. Qualitative research was conducted as follows: 1) Survey, compile and study the diversity of plant species in the Lamphao River by photograph survey. Together with in-depth interviews from key informants in the area. 2)Study of local wisdom, the utilization of plants in herbal medicine. In the Pathao River area, Chaiyaphum Province From a folk philosopher or a landscape Herbal healers in the community By using focus group discussions, data analysis using content analysis The results of the research can be summarized as follows: 1) Biodiversity in plant species in Pathao River Chaiyaphum Province. Found 54 species, 35 family species, 23 species of herbs classified by plant characteristics, including 9 species of shrub, perennial plant 24 10 species of herbaceous plants, ivy or 11 species of vine, the most common plant species are bamboo. 2) For the utilization of herbs. Most of them are used as herbal ingredients in accordance with traditional medicine. Which has brought herbs to use in the treatment of various aspects of body maintenance and from taking off the lessons, there are 3 herbal formulas, which are cure hemorrhoids. Milk stimulant and male enhancement pills.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนความหลากหลายทางชีวภาพอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้ ประโยชน์จากพืชสมุนไพรที่อยู่ริมน้ำหรือบริเวณพื้นที่ที่มีพืชอยู่ใกล้ลำปะทาว ซึ่งใช้เป็นทั้งอาหารและยาตามวิถีการดำเนินชีวิต ของคนไทยมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันภูมิปัญญาเริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจความ หลากหลายของพรรณพืช และภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์จากพืชในด้านยาสมุนไพรในพื้นที่ลำน้ำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยกลุ่มประชากรหลักในการวิจัยประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ทรงภูมิ หมอสมุนไพร ได้แก่ นายชัยวัฒน์ วงษ์ชู และ นักวิจัยไทบ้าน จำนวน 7 คน และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน การดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำรวจ รวบรวม และศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชในพื้นที่ลำน้ำประทาว โดยแบบสำรวจ ภาพถ่ายร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่ (Key informant) 2) การศึกษาภูมิปัญญา ท้องถิ่นการใช้ประโยชน์จากพืชในด้านยาสมุนไพรในพื้นที่ลำน้ำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ จากปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ทรงภูมิ หมอ สมุนไพรในชุมชน โดยใช้การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) ความหลากหลายทางชีวภาพทางด้านชนิดพรรณพืชในพื้นที่ลำน้ำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ พบพรรณพืช 54 ชนิด 35 วงศ์ จำแนกตามวิสัยพืช ได้แก่ ไม้พุ่ม 9 ชนิด ไม้ยืนต้น 24 ชนิด ไม้ล้มลุก 10 ชนิด ไม้เลื้อยหรือไม้เถา 11 ชนิด ซึ่งพรรณพืชที่พบมากที่สุดคือพืชตระกูลไผ่ มช้ประโยชน์เป็นสมุนไพร 23 ชนิด 2) สำหรับภูมิ ปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นส่วนผสมทางยาสมุนไพรตามตำรับยาพื้นบ้าน ซึ่งได้มีการนำเอาพืช สมุนไพรไปใช้ในการบำบัด รักษา บำรุงร่างกายในด้านต่าง ๆ และจากการถอดบทเรียนได้ตำรับยาสมุนไพร จำนวน 3 ตำรับ ได้แก่ ยาแก้โรคริดสีดวงทวารหนัก ยากระตุ้นน้ำนม และยาเสริมกำลังสำหรับผู้ชาย
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/950
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.