Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/908
Title: The Development of Web-based Instruction with Inquiry-based Learning for Enhancing Computational Thinking Skill on Logical and Function Programming for the 8th Grade Students
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรม ที่มีการใช้ตรรกะและฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Rueangsen, Kittiphum
Srisomphan, Jiraphan
กิตติภูมิ เรืองเสน
จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์
Keywords: Web-Based Instruction
Inquiry-Based Learning
Computational Thinking Skill
Issue Date: 9-Jul-2020
Publisher: Nakhon Pathom Rajabhat University
Citation: กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). Digital Technology for SMART Education. เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุม ระดับชาติด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้: ประสาทวิทยาศาสตร์และดิจิทัลเทคโนโลยี ครั้งที่ 2. ขอนแก่น.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มัน เซอร์วิส ซัพพลาย.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุกัญญา โพชะไว. (2559). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียตามแนว 5Es MODEL โดยใช้ MOODLE วิชาการเขียนโปรแกรม ภาษาซีเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
อิศรา ก้านจักร. (2559). พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
Institute of Future for the University of Phoenix Research Institute. (2011). Future Work Skills 2020. Retrieved 10 July 2019 from https://www.iftf.org/uploads/media/SR- 1382A_UPRI_future_work_skills_sm.pdf
Wing, J. M. (2011). Computational thinking: What and why?. Retrieved 10 July 2019 from http://www.cs.cmu.edu/CompThink/resources/TheLinkWing.pdf.
Abstract: The objectives of this research are ( 1) to develop web-based instruction using inquiry-based learning to promote computational thinking skill on logical and function programming for 8th grade students, (2) to find the effectiveness of the developed web-based instruction, (3) to compare the students’ learning achievement before and after applying the developed web-based instruction by using pretest and posttest, 4) to find learners’ computational thinking skill on logical and function skill of the learners using the developed web-based instruction, and (5) to find learners’ satisfaction who studied with the webbased instruction. This study conducted by using the research tools consisting of the developed lesson on the webbased instruction, achievement test, and computational thinking skill assessment form and satisfaction questionnaires. The participants of this study were 46 students in grade 8 from Triamudomsuksanomklao School who were studying in the second semester in the academic year 2019 and they were selected by using the simple random sampling methods. The results of this study revealed that (1) the web-based Instruction had the effectiveness of 85.70/80.28 which was higher than the standard criteria set at 80/80, (2) the academic achievement of the learners had increased at the statistically significant level of .05, (3) the learners’ computational thinking skill had been developed into a good level, and (4) the learners were satisfied with the web-based instruction at a high level (x = 4.45, S.D. = 0.45).
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตรรกะ และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น (4) ประเมินทักษะ การคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น และ (5) หาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ และแบบสำรวจความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อม- เกล้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ผลการวิจัย พบว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.70/80.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนที่เรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี และ (4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (x = 4.45, S.D. = 0.45)
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/908
Appears in Collections:Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ง - Shortcut.lnk830 BUnknownView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.