Please use this identifier to cite or link to this item:
https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/902
Title: | Development learning objects using edutainment concept for sub-unit learning of Basic Services of Internet in Data Communication and Networks การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลักการศึกษาบันเทิง เรื่องบริการพื้นฐานบน อินเทอร์เน็ต สำหรับหน่วยเรียนรู้ย่อย รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย |
Authors: | Nuchprayoon, Nuchsharat Janruang, Paitoon นุชรัตน์ นุชประยูร ไพฑูรย์ จันทร์เรือง |
Keywords: | Learning objects edutainment Basic Services of Internet |
Issue Date: | 9-Jul-2020 |
Publisher: | Nakhon Pathom Rajabhat University |
Citation: | กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. ชุมพล จันทร์ฉลองและอมีนา ฉายสุวรรณ. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง เทพ 3 ฤดูกับการลดโลกร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 111-119. ดาวรถา วีระพันธ์และณัฐรดี อนุพงศ์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(3), 61-72. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). นิยามเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ เพื่อการออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปีที่ 4 ฉบับที่4. หน้า 50-59. นิรันตรี อาจเอื้อ. (2558). การพัฒนาเลิร์นนิงอ๊อบเจ็กต์ โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ปถมา วรรณกุล. (2550). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงให้แก่นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหน้าพระลาน (พิบูลสงเคราะห์) จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปิยะพงษ์ ราศี. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สุวิทย์ ไวยกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการออกแบบเลิร์นนิงออบเจ็คบนแท็บเล็ตโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีการช่วยเสริม ศักยภาพเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์. ดุษฎี นิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต การศึกษาและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to develop and evaluate the efficiency of media learning
objects using edutainment concept for sub-unit learning of Basic Services of Internet in Data
Communication and Networks 2) To study the satisfaction of the students on learning media objects
based on the principles of entertainment education. Sample group used all population registered in
Data communication and network course of 30 people. Tools used in this research were Learning media,
learning objects based on the principles of edutainment concept for sub-unit learning of Basic Services of
Internet, Learning Achievement Tests, Media Quality Assessment Form and Student Satisfaction
Questionnaire. The statistics used in the research were mean ( ) and standard deviation (S.D.).
The results of the study were 1) Learning media objects using entertainment has quality is good
( 4.20 and S.D. 0.47). The students' learning achievement had an average score of (E1) 80.83 / (E2) 81.78
which was higher than the criteria 80/80 2) Satisfaction of the students on the learning media with the
concept of entertainment satisfaction at the highest level. ( 4.51 and S.D. 0.50). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลัก การศึกษาบันเทิง เรื่องบริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต สำหรับหน่วยเรียนรู้ย่อย รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลักการศึกษาบันเทิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกจากประชากรทั้งหมดที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย จำนวน ทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลักการศึกษาบันเทิง เรื่องบริการ พื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพสื่อและแบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อของสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลักการศึกษาบันเทิง เรื่องบริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต สถิติที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต์ตามหลักการศึกษา บันเทิง เรื่องบริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน (E1) ร้อยละ 80.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (E2) ร้อยละ 81.78 โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนดไว้ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบ เจกต์ตามหลักการศึกษาบันเทิง เรื่องบริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 |
URI: | https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/902 |
Appears in Collections: | Proceedings of the 12th NPRU National Academic Conference |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เลิร์นนิงออบเจกต.pdf | 263.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.