Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/691
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญพันธ์, จิตาภา-
dc.date.accessioned2020-03-26T10:05:09Z-
dc.date.available2020-03-26T10:05:09Z-
dc.date.issued2019-07-12-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/691-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดสีธรรมชาติจากพืชกลุ่มแอนโทไซยานินในท้องถิ่นบางชนิด เพื่อนำมาใช้ในการย้อมสีโครโมโซมจากปลายรากหอม และทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ที่มีราคาแพงและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยคัดเลือกพืชในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายทั้งแบบสดและแบบแห้งมา 4 ชนิด ได้แก่ เปลือกมังคุด อัญชัน กะหล่ำปลีสีม่วง และมะม่วงหาวมะนาวโห่โดยใช้ตัวทำละลาย 5 ชนิด ได้แก่ น้ำกลั่น กรดอะซิติก 20% กรดไฮโดรคลอริก 20% แอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% และ แอลกอฮอล์ความเข้มข้น 95% ในอัตราส่วน 1:1 (น้ำหนัก(กรัม)):ปริมาตรสารละลาย (มิลลิลิตร)) นำไปทดสอบประสิทธิภาพของการย้อมสีโครโมโซมจากปลายรากหอม พบว่า สารสกัดจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ทั้งแบบสดและแบบแห้งที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 95% มีค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจสูงที่สุดโดยมีระดับค่าความพึงพอใจเท่ากับ 42 เมื่อนำสารสกัดจากมะม่วงหาวมะนาวโห่แบบสดมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 95% และนำไปเก็บรักษาสีย้อมด้วยกระบวนการทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (freeze dryer) และกระบวนการทำให้แห้งด้วยเครื่องอบลมร้อน (hot air oven) และนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4องศาเซลเซียส เป็นเวลา 45 วัน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีย้อมในการย้อมสีโครโมโซมของปลายรากหอมพบว่ายังคงสามารถย้อมติดสีโครโมโซมและมองเห็นระยะต่าง ๆ ของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้อย่างชัดเจนen_US
dc.subjectสีย้อมธรรมชาติen_US
dc.subjectแอนโทไซยานินen_US
dc.subjectโครโมโซมen_US
dc.titleการสกัดสีธรรมชาติจากพืชกลุ่มแอนโทไซยานิน เพื่อใช้ในการย้อมสีโครโมโซมจากปลายรากหอมen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.