Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/661
Title: การรับรู้ความรุนแรงของอุบัติเหตุท้องถนนการจัดการ และช่องทางการรับความช่วยเหลือ Perceived of Client with Traffic Accidents on Trauma Severity, Management and Channel for Assistance
Authors: Chankham, Wariya
Namarak, RN. M.N.S. Riam
Wongsak, .M.N.S Dr.rer.pol Sumetee
Keywords: ความรู้และความรุนแรง การจัดการ ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ช่องการทางขอรับความช่วยเหลือ
Issue Date: 18-Jul-2556
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้และ ความรุนแรง ของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การจัดการ และช่องทางการติดต่อขอรับความช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บที่ เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม จังหวัดนครปฐม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 75 คน ดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน เมษายน – ธันวาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้ ความรู้และความรุนแรง ของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การจัดการ และช่องทางการติดต่อขอความช่วยเหลือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60 เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 10 – 60 ปี อายุเฉลี่ย 31.07 ปี ร้อยละ 62.7 เป็นโสด ร้อยละ 28 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 26.7 ระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่รับราชการและเป็นนักเรียนร้อยละ 26 ค้าขายร้อยละ 20 รายได้เฉลี่ย 103,655 บาทต่อครอบครัวต่อปี ระยะทางจากที่พักไปถึงโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเฉลี่ย 10.5 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 19.38 นาที ร้อยละ 76.8 มารับการรักษาโดยใช้บริการรถยนต์ของหน่วยกู้ชีพ รองลงมาใช้ รถพยาบาลร้อยละ 16.8 2. ความรู้และความรุนแรง ของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การจัดการของผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นด้วย ด้านการปฐมพยาบาลว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย ฉุกเฉินร้อยละ 86.7 ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ รับรู้ความรุนแรง การจัดการ และการขอความช่วยเหลือถูกต้อง ข้อเสนอแนะ ควรมีการวางแผนบูรณาการงานเพื่อสร้างการตระหนักและการรับรู้ร่วมกันทุกภาคส่วน ตั้งแต่ กระบวนการติดต่อวางแผนขอความช่วยเหลือ วางแผนการเดินทางคมนาคม เส้นทางพิเศษสำหรับการขนส่งทางการแพทย์ การออกแบบเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านชุมชน อาคารสูง ที่มีประตู ลิฟท์ หรือช่องทางที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ในกรณีฉุกเฉิน ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าผู้บาดเจ็บและญาติยังรับรู้ขอมูลที่ถูกต้องไม่ทั้งหมด จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐและผู้ที่ เกี่ยวข้องต้องประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน การรับรู้ และทันกับข่าวสาร จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บเข้าถึงบริการ สุขภาพได้เร็วที่สุด
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/661
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20190220114510.pdf144.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.