Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/623
Title: การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ชุมชนศาลาตึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of an English Supplementary Reading Book for Mattayomsuksa One Students: The Story of the Salatuek Community
Authors: ทองสิมา, สัมฤทธิ์
Keywords: หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ ชุมชนศาลาตึก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดเห็น นักเรียน
Issue Date: 18-Jul-2556
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนศาลาตึก และนำมาสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ชุมชนศาลาตึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศาลาตึกวิทยา และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ ตลอดจนเพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้ หนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยใช้การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการจัดเวทีชุมชน การสัมภาษณ์ การทัศนศึกษาในสถานที่จริง และ การประกวดความเรียงของนักเรียน ผู้ร่วมกระบวนการวิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้สอน นักเรียน เจ้าอาวาสวัดศาลาตึก ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ชาวชุมชนศาลาตึก และกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนศาลาตึกวิทยา ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 28 คน ในช่วงเดือนมกราคม 2554 – สิงหาคม 2555 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนศาลาตึกมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่น่าสนใจและมีโบราณสถานเก่าแก่ คือ พลับพลาศาลาตึก ปัจจุบันอาคารนี้เหลือเพียงส่วนฐาน ชุมชนศาลาตึกเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีความโดดเด่นในด้าน การทำไร่อ้อย การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง และการเลี้ยงวัว 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องชุมชนศาลาตึก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาอังกฤษ
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/623
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20190215102101.pdf197.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.