Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/571
Title: การผลิตเอทานอลจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
Authors: บัวทอง, ศิริลักษ์
ศรีพันธ์ลม, ธันยนันท์
จตุรพิรีย์, อดิศักดิ์
ไชยชนะ, เอกราชันย์
Keywords: ขี้เลื่อย
การปรับสภาพ
เซลลูโลส
น้ำตาลรีดิวซ์
เอทานอล
Issue Date: 30-Mar-2558
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตเอทานอลจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ได้จากถุงเชื้อเห็ดเก่า ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรที่มีอยู่จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับสภาพและเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลและปริมาณ เอทานอลที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเอทานอลจากขี้เลื่อยยางพาราที่ได้จากถุงเชื้อเห็ดเก่า โดยทำการปรับสภาพโดยใช้เอทานอล และเอทานอลร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ใช้เอทานอลความเข้มข้น 50%, 60%, 70%, 80% และ 90% ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และการปรับสภาพด้วยเอทานอลร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์โดยใช้เอทานอล 80% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มากที่สุดแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่ความเข้มข้น 2%, 3%, 4% และ5% ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 16 ชั่วโมง จากนั้น ไฮโดรไลซีสด้วยเซลลูเลสความเข้มข้น 3 กรัมต่อลิตร สำหรับประสิทธิภาพในการปรับสภาพจะดูจากปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้ ผลการทดลองพบว่าขี้เลื่อยที่ไม่ปรับสภาพมีปริมาณ น้ำตาลรีดิวซ์ 74.78 มิลลิกรัมต่อลิตร ขี้เลื่อยที่ใช้เอทานอลในการปรับสภาพมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 227.88, 212.73, 144.85, 237.58 และ 249.70 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนขี้เลื่อยที่ปรับสภาพด้วยเอทานอลร่วมกับไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 585.50, 543.18, 773.33, 605.21 และ 919.42 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ จากผลการทดลองดังกล่าวพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพขี้เลื่อยคือ การปรับสภาพด้วยเอทานอล 80% ร่วมกับ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 4% ซึ่งให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มากที่สุดคือ 773.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการหมักด้วยยีสต์ saccharomyces cerevisiae เป็นเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิห้อง ได้ปริมาณเอทานอล 0.1 % v/v
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/571
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ศิริลักษ์ บัวทอง.pdf619.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.