Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/541
Title: การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อมจากกลีบดอกอัญชันโดยใช้วิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง
Authors: แสงสุขเอี่ยม, พรรณทิพย์
ซุ่ยหิรัญ, ราตรี
Keywords: สภาวะที่เหมาะสม, ,, ,
การสกัดสีย้อม
กลีบดอกอัญชัน
พื้นที่ผิวตอบสนอง
การทดลองแบบประสมกลาง
Issue Date: 30-Mar-2558
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อมจากกลีบดอกอัญชัน โดยศึกษาตัวแปร ที่เกี่ยวข้อง 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) ระยะเวลาที่ใช้ในการสกัด (X1) คือ 45, 60, 90 และ 120 นาที 2) อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัด (X2) คือ 29, 60, 70, 80 และ 90 องศาเซลเซียส และ 3) ปริมาณกลีบดอกอัญชัน (X3) คือ 0.5, 1, 1.5 และ 2 กรัม จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง (RSM) ได้ปัจจัยค่ามุม 8 จุด และปัจจัยค่าแกน 5 ระดับ (1.682, 1, 0, -1 และ -1.682) นำข้อมูลที่วิเคราะห์ด้วย RSM มาออกแบบการทดลองแบบประสมกลาง (CCD) ซึ่งประมวลผลด้วยโปรแกรม RGui 386 version 3.2.0 การประมวลผลข้อมูลทำให้ได้ แผนการทดลองที่เหมาะสม ในศึกษาการสกัดสีย้อมจากกลีบดอกอัญชัน 20 แผนการทดลอง จากนั้นทำการทดลองตามทั้ง 20 แผนการทดลอง เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อม และนำค่าการดูดกลืนแสงของสารสกัดที่ความยาวคลื่น 575 นาโนเมตร มาใช้ในการสร้างสมการถดถอยกำลังสอง ได้สมการ คือ Y = b0 + b1X1 + b2X2 + b3X3 + b4X1X2 + b5X2X3 + b6X1X3 + b7X1 2 + b8X2 2 + b9X3 2 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.94 สภาวะที่มีค่าการดูดกลืนแสงมากที่สุดที่ได้จากสมการ ถดถอยกำลังสอง คือ สภาวะที่ใช้ระยะเวลาในการสกัด 88 นาที อุณหภูมิ 78 องศาเซลเซียส และปริมาณกลีบดอกอัญชัน 1.68 กรัม เมื่อเปรียบเทียบค่าการดูดกลืนแสงของสารสกัดที่ได้จากการประมวลผล และจากการทดลองจริง พบว่า ทั้งสองวิธี ให้ค่าการดูดกลืนแสงที่ใกล้เคียงกัน
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/541
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พรรณทิพย์ แสงสุขเอี่ยม.pdf817.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.