Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/540
Title: การใช้สารปรับสภาพที่เหมาะสมและสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย่อยสลายผักตบชวา โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลสเพื่อผลิตน้ำตาลรีดิวซ์
Authors: จันทรส, ณัฐนิจชา
สุขรัตน์, กัญจน์รัตน์
Keywords: เซลลูโลส
น้ำตาลรีดิวซ์
การย่อยสลายด้วยเอนไซม์
Issue Date: 30-Mar-2558
Abstract: ลำต้นและรากของผักตบชวามีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบหลัก การย่อยสลายเซลลูโลสด้วยเอนไซม์เซลลูเลสจะได้ โมเลกุลน้ำตาลที่มีขนาดเล็กลงและมีสมบัติเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ น้ำตาลรีดิวซ์ถูกหมักโดยยีสต์สามารถผลิตเอทานอลเป็นพลังงาน ทดแทน การปรับสภาพลำต้นและรากของผักตบชวามีผลต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของเอนไซม์เซลลูเลส 5 ชนิดของ สารปรับสภาพถูกศึกษาที่อุณหภูมิห้อง ได้แก่ น้ำและสารละลายของ KOH, H2SO4, H2SO4 กับ Na2SO3 5% w/w ของผักตบชวาแห้งและ H2SO4 กับ Na2SO3 10% w/w ของผักตบชวาแห้งโดยใช้ความเข้มข้นต่างๆ 1, 2, 3, 4, และ 5 mol/L และเวลา 1, 2, 3, 4, 5, และ 6 ชั่วโมง และ 1, 2, 3, 4, 5, และ 6 วัน พบว่าสารปรับสภาพที่เหมาะสมและสภาวะ ที่เหมาะสมสำหรับลำต้นและราก คือ 3 mol/L H2SO4 กับ Na2SO3 10% w/w ของผักตบชวาแห้ง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงและ 3 mol/L H2SO4 เป็นเวลา 2 ชั่วโมงตามลำดับ ในตรวจสอบผลโดยวิธี DNS จากการวัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากการ ย่อยสลายด้วยเอนไซม์เซลลูเลส 3.0 mL/L ที่ pH บัฟเฟอร์ 5 ที่อุณหภูมิ 50 °C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นในการหาความ เข้มข้นที่เหมาะสมของเอนไซม์เซลลูเลส ดำเนินการในช่วง 0.25, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5, 3.0, และ 3.5 mL/L ที่สภาวะเดิม สรุปได้ว่าความเข้มข้นที่ดีที่สุดของเอนไซม์เซลลูเลสสำหรับลำต้นและรากเป็น 1.5 mL/L และ 1.0 mL/L ตามลำดับ
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/540
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ณัฐนิจชา จันทรส.pdf885.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.