Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/461
Title: แนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญาจอห์น ล็อค The concept and theory of John Locke’s Empiricism
Authors: วงษ์สอาด, สรวิชญ์
Keywords: แนวคิด ทฤษฎีประจักษประมาณ จอห์น ล็อค
Issue Date: 28-Sep-2560
Abstract: จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญาจอห์น ล็อค พบว่า “ประจักษประมาณ” ในปรัชญา จอห์น ล็อคนั้น เกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางจิต โดยผ่านทางอายตนะภายนอกที่มากระทบอายตนะภายใน สามารถรับรู้ได้โดยตรง ที่เรียกว่า “ความรู้เชิงประจักษ์” ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาและจากการเปิดเผยจากพระเจ้า ก็คือ สารัตถะของโลก ภาวะของพระเจ้าและการพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าที่มีอยู่จริง 3 อย่าง คือ สสาร จิต และพระเจ้า ที่สามารถ รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสว่าเป็นสัจภาวะ ก็คือ รู้ทันทีเมื่อเข้าใจคำพูด ไม่ต้องการความจริงอื่นมาสนับสนุน รู้ด้วยอาศัยการพิสูจน์ ด้วยความจริงที่ง่ายกว่าและที่ยอมรับแล้ว รู้ของเฉพาะหน่วยด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ความรู้ที่มีประโยชน์แต่ยัง พิสูจน์ให้แน่นอนไม่ได้ และยังไม่มีประสบการณ์โดยตรง และ ความรู้ทางศาสนาที่เป็นเรื่องของความเชื่อ ที่มีหลักฐานว่ามาจาก พระเป็นเจ้าจากการสัมผัสของ “จิตกับร่างกาย” ดังนั้น ล็อค จึงเห็นว่า ประสบการณ์นั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้อย่างแท้จริง โดยอาศัยหลักเหตุและผลที่เกิดความรู้จริง 3 ประเภท คือ 1) ความคิดที่เกิดจากการอาศัยประสบการณ์ภายนอก เข้ามากระทบ กับอายตนะภายใน เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นต้น ความคิดประเภทนี้ ไม่แน่ว่าให้ความรู้จริงหรือไม่ 2) ความคิดที่จิต สร้างขึ้น โดยอาศัยความนึกคิด โดยการอนุมานบ้าง เก็งหรือเดาบ้าง ความคิดประเภทนี้ ไม่สามารถให้ความจริงเสมอไปได้เลย 3) ความคิดติดตัว หรือความคิดที่ติดมาแต่แรกเกิด ที่เรียกว่า “สหชาตปัญญาหรือสหัชฌญาณ” สามารถให้ความรู้จริงได้ เป็นต้น
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/461
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100.สรวิชญ์ วงษ์สอาด.pdf501.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.