Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/435
Title: การปฏิบัติงานสารบรรณของบุคลากรในเทศบาลตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม The Performance Document of Personnel in Don Yai Hom Municipal District Muang Nakhon Pathom District, Nakhon Pathom Province
Authors: เพ่งรุ่งเรืองวงษ์, รุ่งนภา
Keywords: การปฏิบัติงานของบุคลากร งานสารบรรณ เทศบาลตำบลดอนยายหอม
Issue Date: 28-Sep-2560
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ระดับการปฏิบัติงานสารบรรณของบุคลากรเทศบาล ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 2) แนวทางการพัฒนางานสารบรรณของบุคลากรเทศบาลตำบล ดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยใช้จำนวนประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้าราชการ 18 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ 20 คน พนักงานจ้างทั่วไป 20 คน พนักงานจ้างประจำ 12 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด ระดับปริญญาตรี ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานจ้างตาม ภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5-9 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติงานสารบรรณของบุคลากรเทศบาลตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติงานสารบรรณอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการจัดทำหนังสือ ราชการ รองลงมา คือ ด้านการรับหนังสือ ด้านการส่งหนังสือราชการ ด้านการเก็บรักษาหนังสือราชการ ด้านการทำลายหนังสือ ราชการ ส่วนด้านที่มีระดับต่ำที่สุด คือ ด้านการยืมหนังสือราชการ 2. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสารบรรณ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดทำหนังสือราชการ บุคลากร ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการจัดทำหนังสือราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นความรู้ของบุคลากรให้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2) ด้านการรับหนังสอราชการ บุคลากรควรลงรับหนังสือราชการให้ตรงเวลา ทันทีเมื่อได้รับ หนังสือ และจัดทำเอกสารประกอบการปฏิบัติงานแจกกับบุคลากรเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทางเดียวกันและควรมีการนำ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการรับหนังสือราชการ 3) ด้านการส่งหนังสอราชการ บุคลากรควรส่งหนังสือให้ตรงเวลา ตรวจสอบความถูกต้อง หากในกรณีที่ไม่มีผู้รับแทน ต้องหาทางอื่นที่จะทำให้ผู้รับได้รับหนังสือหรือข้อมูลให้เร็วที่สุด เช่น การโทรศัพท์ หรือ การส่ง E-mail เป็นต้น 4) ด้านการเก็บรักษาหนังสือหนังสอราชการ ควรมีการจัดเก็บหนังสือราชการให้เป็น หมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา อาจจะมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บ 5) ด้านการยืมหนังสือราชการ ในการ ยืมราชการ ควรเสนอขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อนทุกครั้งและผู้ที่มีสิทธิยืมหนังสือได้ต้อผ่านการได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ทุกครั้ง ควรจัดทำทะเบียนในการยืม กำหนดเวลาคืนที่ชัดเจน และต้องติดตามขอคืนเมื่อครบกำหนด 6) ด้านการทำลายหนังสือ หนังสอราชการ ควรกำหนดขั้นตอนในการทำลายหนังสือราชการให้ชัดเจน และให้ถือปฏิบัติให้เป็นไปในทางเดียวกันทุกฝ่าย
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/435
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
87.รุ่งนภา เพ็งรุ่งเรืองวงษ์.pdf546.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.