Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/400
Title: การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ของชุมชนบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Authors: ประทุม, ถิระนันท์
Keywords: การท่องเที่ยวชุมชน
รูปแบบการท่องเที่ยว
ตลาดบางหลวง
Issue Date: 30-Mar-2558
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบางหลวง อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) และการสังเกตการณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้นำชุมชน หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดบางหลวง ปราชญ์ชุมชน ชาวบ้านทั่วไปในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนชุมชนบางหลวง รวม 216 คน จากนั้นนำผลที่ได้มา วิเคราะห์ตามประเด็น (Content analysis) เพื่อนำมาอภิปรายผลการศึกษา ผลวิจัยพบว่า ตลาดบางหลวงมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นผสมผสานระหว่างไทย-จีน มีวิถีชีวิตการเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแบบ ดั้งเดิม มีสถาปัตยกรรมที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อให้คงอยู่และสืบต่อไป คือ บ้านเก่า เหล่าเต็งไม้ พร้อมกันนี้ชุมชนบางหลวง ยังมีการถ่ายทอดทั้งประเพณี วัฒนธรรม และกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นลักษณะบ่งบอกถึงวัฒนธรรมผสมผสานไทย-จีน โดยเฉพาะดนตรีจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และจากการศึกษารูปแบบและการจัดการการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบางแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ คือ 1) รูปแบบและการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ใน แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่ มี 2 เส้นทางการเดินศึกษาและชมวัฒนธรรม เป็นลักษณะเส้นทางเดียวกัน แต่ต่างกันที่ จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเดินชมและศึกษาพื้นที่ และ 2) รูปแบบการจัดเส้นทางเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในท้องถิ่น และภูมิภาค พบว่าสามารถจัดแบ่งได้ 2 แบบเช่นเดียวกันคือ การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นใกล้เคียงเข้า ด้วยกันเพื่อเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ กับแหล่งท่องเที่ยว ต่างบริบทกันในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยว พร้อมกันนี้รูปแบบอีกรูปแบบที่เหมาะสมในการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเกิดการเรียนรู้จากการท่องเที่ยวในชุมชน คือ การนำยุวมัคคุเทศก์มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด การเรียนรู้ที่ดีได้อีกทาง นอกจากนี้พบว่าคนในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เกิดการเรียนรู้อย่างชัดเจน คือชุมชนตลาดบาง หลวงให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิต เช่น การบดกาแฟ การตีเหล็ก และยังผลักดันให้นักท่องเที่ยวเก็บภาพ วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้โบราณต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ระลึก บันทึกเป็นภาพประวัติศาสตร์เก็บไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ชื่นชมวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษสืบต่อไป
URI: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/400
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ถิระนันท์ ประทุม.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.