Please use this identifier to cite or link to this item: https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/374
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorถนอมสัตย์, กมลภู-
dc.date.accessioned2018-12-11T04:43:37Z-
dc.date.available2018-12-11T04:43:37Z-
dc.date.issued2558-03-30-
dc.identifier.urihttps://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/374-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือด และเปรียบเทียบ การรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือด ของประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มี เพศ ระดับการศึกษา อายุ รายได้ และประสบการณ์มีอาการโรคหัวใจขาดเลือดแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 325 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้เป็นแบบสอบถาม ทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา และส่วนที่ 2 แบบสอบถาม เกี่ยวกับการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือด หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค โดยทดสอบใน กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้เท่ากับ .84 รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาตามระดับการวัดของข้อมูล เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยการรับรู้ อาการของโรคหัวใจขาดเลือดของประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลวังตะกูที่มีเพศ และประสบการณ์การมีอาการโรคหัวใจขาดเลือด ต่างกัน โดยใช้ Independent t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดของ ประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลวังตะกูที่มีระดับการศึกษา อายุ และรายได้ แตกต่างกัน โดยใช้ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดในภาพรวมในระดับสูง ( x =9.29, S.D. = 3.78) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด (t= 3.06, p<.05) ระดับการศึกษา (F5,320= 2.74, p<01) และช่วง อายุ(F2,323= 4.41, p<01) ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดแตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และ รายได้ต่างกัน มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการให้ความรู้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โดยเน้น การสร้างการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดในกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด กลุ่มที่ไม่ได้เรียน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา และกลุ่มที่มีช่วงอายุ 41-59 ปี และ60 ปีขึ้นไปen_US
dc.subjectการรับรู้อาการen_US
dc.subjectโรคหัวใจขาดเลือดen_US
dc.subjectประชากรกลุ่มเสี่ยงen_US
dc.titleการรับรู้อาการของโรคหัวใจขาดเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมen_US
Appears in Collections:Proceedings of the 11th NPRU National Academic Conference

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กมลภู ถนอมสัตย์.pdf751.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.